นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

60 นิตยสาร สสวท. อย่างไร ทางไหน ต่ายว่า ขึ้นกับวิธีการให้การศึกษาและบ่มเพาะเยาวชน ของประเทศแล้ว ก่อนจากกันในฉบับนี้ ต่ายเชื่อว่าเรื่องที่ต่ายเล่าน่าจะมีส่วนช่วยให้คุณ ได้มองเห็นและเข้าใจถึงความพยายามของมนุษย์ในการค้นคว้า และหาวิธีการ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตอาหารบนโลกมนุษย์ เพื่อจะ กู้คืนสมดุลของโลก บรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกที่นับวันจะทวีความรุนแรง เพิ่มขึ้นทุกวัน ณ เวลานี้ คุณและต่ายสามารถช่วยกันบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้ง่ายๆ โดยเฉพาะในเรื่องของขยะ เช่น การลดการซื้อหรือสร้างขยะพลาสติก ช่วยกันล้างขยะพลาสติกก่อนทิ้ง เพื่อให้เกิดการทำ�รีไซเคิลให้มากที่สุด แทนที่จะถูกนำ�ไปทิ้งโดยการฝังกลบไว้ใต้ดินตามวิธีการที่ประเทศไทยนิยม ใช้ในการกำ�จัดขยะ แล้วพอน้ำ�ท่วมใหญ่ขยะเหล่านี้ก็จะลอยมาเกลื่อนเมือง หากคุณสนใจหรืออยากให้ต่ายติดตามเรื่องราวอะไรเป็นพิเศษ หรือ คิดถึงกัน สามารถเขียน email ส่งมาบอกกล่าว หรือมาคุยกับต่ายได้เหมือนเดิม ที่ funny_rabbit@live.co.uk ขอให้ทุกคนสุขภาพดีกันถ้วนหน้าจ้า มีการวางแผนการวิจัยเกี่ยวกับการสร้างโปรตีนจากราชนิดนี้ในอวกาศ เช่น การทดสอบถังบ่มเลี้ยงราซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิ สภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารที่จำ�เป็นสำ�หรับการเจริญเติบโต สภาพความเป็นกรดด่าง ภายในถังบ่มเพื่อให้ราสามารถสร้างโปรตีนในอวกาศ (Bioreactor in Space) และนักวิจัยทำ�การตรวจสอบประสิทธิภาพในการสร้างโปรตีนของราชนิดนี้ ในอวกาศว่าจะเหมือนบนโลกหรือไม่ โดยทำ�การส่ง Bioreactor นี้ไปทดสอบ ที่สถานีอวกาศนานาชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 คุณสามารถอ่าน และดูภาพได้ที่ NASA Helps Serve Yellowstone Fungi for Breakfast | NASA และ NASA ยังคงค้นหาสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ และศึกษาวิจัยเพื่อ หาวิธีการสร้างอาหารให้กับมนุษย์สำ�หรับการตั้งถิ่นฐานในดาวดวงอื่นๆ โดยหลักสำ�คัญก็คือ ต้องเป็นการสร้างอาหารที่ใช้วัตถุตั้งต้นสำ�หรับการสร้าง และเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตน้อยที่สุด ณ ตอนนี้ โปรตีนที่ผลิตได้จากการทำ�งานของราถูกนำ�มาพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในโรงงานที่ตั้งอยู่ที่เมือง Chicago, USA เพื่อวางจำ�หน่าย โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนและกรดอะมิโนครบทุกชนิด รวมทั้งกรดอะมิโน จำ�เป็นทั้ง 9 ชนิด (กรดอะมิโนจำ�เป็นที่เราไม่สามารถสร้างได้ ต้องได้รับ จากอาหารเท่านั้น ได้แก่ Histidine, Isoleucine, Leucine, Lysine, Methionine, Phenylalanine, Threonine, Tryptophan และ Valine) มีใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ไม่มี คลอเลสเตอรอลและไขมันทรานส์ มีไขมันเพียงแค่ 1 ใน 10 ของที่พบใน เนื้อวัวดิบ และมีปริมาณโปรตีนมากกว่าที่พบในเต้าหู้ 50% หรือถ้าเทียบกับ ถั่วที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปพบว่าโปรตีนจากราชนิดนี้มีมากกว่าในถั่วถึง 2 เท่า และที่สำ�คัญมันเป็นโปรตีนจากรา ทำ�ให้ผู้ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ให้ความสนใจกับ โปรตีนที่ราตัวนี้สร้างขึ้นอย่างมาก พอเล่ามาถึงตอนนี้ ทำ�ให้ต่ายเกิดคำ�ถามขึ้นมาทันทีว่า “แล้ว ประเทศไทย เรากำ�ลังทำ�อะไรกันอยู่” ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพสูง สามารถผลิตอาหารได้หลากหลายรูปแบบ หรือเรายังคงติดกับวิธีคิดและความถนัดกับการแปรรูปอาหารที่มีมากมาย โดยไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย จุดเปลี่ยนของประเทศไทย จะเป็นไป QUIZิ ต To save the world, eat bugs: Cayte Bosler ต่าย แสนซน ภาพจาก: https://eativitynews.com/edible-insects-the-food-of-the-future/

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5