นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 7 การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ที่มา : www.pixabay.com/Sasin Tipchai ลักษณะท่องจำ�มีความน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ และกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ให้ได้มากที่สุดก็เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งสำ�หรับครู การจัดการเรียนรู้เนื้อหาชีววิทยาสำ�หรับระดับประถมศึกษา การจัดการเรียนรู้เนื้อหาชีววิทยาในระดับประถมศึกษาให้มี ประสิทธิภาพควรเน้นการให้ความสำ�คัญกับนักเรียนเป็นสำ�คัญ ให้นักเรียน ได้มีส่วนร่วมกับการเรียนรู้โดยครูอาจใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งนอกจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แล้วยังสามารถใช้สื่อดิจิทัลมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ครูในระดับประถมศึกษาควรเลือกใช้ทรัพยากรการเรียนรู้หลากหลาย มีการประยุกต์หรือดัดแปลงสื่อต่างๆ ให้เหมาะกับความต้องการหรือ บริบทของนักเรียนวัยนี้ (Eirini และ Katerina, 2020) เนื่องจากการใช้ ทรัพยากรหลายอย่าง เช่น แบบจำ�ลอง อุปกรณ์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ หนังสือการ์ตูน มีส่วนช่วยให้นักเรียนระดับนี้เข้าใจแนวคิดที่เฉพาะเจาะจง หรือเป็นนามธรรมได้ดีมากกว่าการใช้หนังสือเพียงอย่างเดียว (Carlan, Sepel, and Loreto, 2014) อีกทั้งควรนำ�ความรู้และประสบการณ์ ของนักเรียนมาเชื่อมโยงกับการเรียนโดยไม่เน้นการท่องจำ� แต่เน้นการคิด และการลงมือปฏิบัติ นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่ช่วย ส่งเสริมการเรียนรู้และความสนใจของนักเรียน ไม่เบื่อการเรียนก็เป็น เรื่องสำ�คัญ เราจะทำ�อย่างไรให้เนื้อหาชีววิทยามีความน่าสนใจและช่วยกระตุ้น การเรียนรู้ของนักเรียนในระดับประถมศึกษาได้มากขึ้นเพราะธรรมชาติ ของเด็กในระดับนี้จะชอบเล่น ชอบลงมือปฏิบัติ ชอบสำ�รวจสิ่งต่างๆ ไม่ชอบอยู่นิ่ง และชอบใช้จินตนาการ แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และเหมาะสมกับวัยของนักเรียนสามารถทำ�ได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น 1) การจัดการเรียนรู้ผ่านการทดลอง หากเด็กได้ลงมือทำ� กิจกรรมผ่านการทดลองจะทำ�ให้การเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่ออีกต่อไป เพราะเด็กได้หยิบจับ ได้เคลื่อนไหวร่างกาย และลงมือค้นหาคำ�ตอบ ด้วยตัวเอง ทำ�ให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องนั้นได้ดีขึ้น หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า เนื้อหาใดของชีววิทยาในระดับประถมศึกษาสามารถเรียนรู้ผ่าน การทดลองได้ ขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช เช่น เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งเป็นเนื้อหาในชั้น ป.2 เด็กสามารถทดลองโดยการปลูกพืชภายใต้ปัจจัยที่แตกต่างกันและ สังเกตการเจริญเติบโตของพืช สุดท้ายจะค้นพบคำ�ตอบด้วยตัวเองว่า ปัจจัยใดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งทำ�ให้เด็กเข้าใจแนวคิดได้ โดยไม่ต้องท่องจำ�อีกต่อไป เนื่องจากได้พบหลักฐานเชิงประจักษ์หรือ คำ�ตอบจากการทดลองด้วยตัวเอง การปลูกพืชภายใต้ปัจจัยที่แตกต่างกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5