นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

8 นิตยสาร สสวท. อินโฟกราฟิกประกอบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.5 เล่ม 2 2) การจัดการเรียนรู้ผ่านการสำ�รวจ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ทำ�ให้เด็กได้เปลี่ยนบรรยากาศ การเรียนรู้จากในห้องเรียนออกมาสู่นอกห้องเรียน เป็นการสร้างบรรยากาศใหม่ๆ ในการเรียนรู้ของเด็ก จากที่ทราบกันอยู่แล้วว่าชีววิทยาเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ผ่านการสำ�รวจก็ไม่ใช่เรื่องยาก ทั้งนี้ เนื้อหาชีววิทยาในระดับประถมศึกษามีอยู่ หลายเรื่องที่สามารถจัดการเรียนรู้ผ่านการสำ�รวจได้ เช่น เรื่องสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำ�รงชีวิตของสัตว์ ในบริเวณที่อาศัยอยู่ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่อยู่ในชั้น ป.1 เด็กสามารถสำ�รวจบริเวณต่างๆ เพื่อดูว่าบริเวณนั้นๆ มีสิ่งมีชีวิตใดบ้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร หลังจากที่สำ�รวจแล้วเด็กจะได้ข้อมูลเพื่อนำ�มาสรุปเป็น องค์ความรู้ด้วยตัวเองได้ หรือเนื้อหาในชั้น ป.5 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เด็กสามารถสำ�รวจสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่างๆ เพื่อนำ�ข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป เป็นองค์ความรู้ของตัวเองได้ สุดท้ายแล้วการเรียนรู้ผ่านการสำ�รวจทำ�ให้เด็กได้ความรู้และเข้าใจเนื้อหานั้น ด้วยตัวเอง นอกจากรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ครูควรให้ความสำ�คัญแล้ว ยังมีสื่ออีกหลายรูปแบบทั้งวีดิทัศน์ แอนิเมชัน แอปพลิเคชัน ภาพประกอบ หรือการใช้ผังมโนทัศน์จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและช่วยกระตุ้น การเรียนรู้เนื้อหาชีววิทยาของนักเรียนในระดับประถมศึกษาเพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ช่วยให้ชีววิทยามีความน่าสนใจมากขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างความเข้าใจ เนื้อหาที่เป็นนามธรรมให้กับนักเรียนได้มากขึ้นด้วย 1) การใช้้สื่อ เช่น วีดิทัศน์ แอนิเมชัน แอปพลิเคชัน ภาพ มาประกอบเนื้อหา ปัจจุบันมีสื่อมากมายที่สามารถนำ�มาใช้ประกอบการ เรียนรู้ได้ โดยเฉพาะเนื้อหาที่เป็นนามธรรม ก็สามารถใช้สิ่งเหล่านี้ มาเป็นสื่อเสริมได้ หากเด็กได้เห็นภาพก็จะทำ�ให้เกิดจินตนาการและเข้าใจ เนื้อหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงของพืชดอกขณะ เจริญเติบโต ซึ่งเป็นเนื้อหาในชั้น ป.2 เด็กอาจมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ขณะเจริญเติบโตของพืช แต่สามารถใช้สื่อดิจิทัลแสดงผลเหมือนจริง หรือ AR (Augmented Reality) มาประกอบการเรียนรู้ เพื่อเสริม ความเข้าใจได้ หรือเรื่องระบบย่อยอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใน ร่างกายเป็นเนื้อหาที่อยู่ในชั้น ป.6 อาจใช้วีดิทัศน์มาช่วยในการเรียนรู้ ทำ�ให้เด็กเห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ที่มา : www.pixabay.com/M W ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงขณะเจริญเติบโตของพืชดอกผ่านการใช้แอปพลิเคชัน AR 2) การใช้ภาพอินโฟกราฟิก (Infographics) ประกอบเนื้อหา ชีววิทยาในเรื่องที่มีรายละเอียดมาก หากใช้ภาพอินโฟกราฟิกมาประกอบ จะทำ�ให้เนื้อหาน่าสนใจและน่าอ่านมากขึ้น เช่น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นเนื้อหาในชั้น ป.5 ที่มีรายละเอียดมาก 3) การใช้ผังมโนทัศน์ (Concept Map) เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง ที่ช่วยรวมความคิดรวบยอดให้เห็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นภาพรวม ทั้งหมดจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้ง่ายขึ้น ครูสามารถใช้ผังมโนทัศน์ ได้ในเนื้อหาหลายส่วน หรือเมื่อสอนเนื้อหาแต่ละเรื่องจบแล้ว ครูสามารถ นำ�ผังมโนทัศน์มาใช้ในการรวบรวมความคิดรวบยอดทั้งหมดในเรื่องนั้นๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และนักเรียนก็สามารถเชื่อมโยง ความรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันได้ทั้งหมด เช่น เรื่องการจำ�แนกสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นเนื้อหาในชั้น ป.4 เมื่อนำ�มาทำ�เป็นผังมโนทัศน์จะช่วยให้มองเห็น ความคิดรวบยอดทั้งหมดของเนื้อหาเรื่องนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5