นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

22 นิตยสาร สสวท. 2. เปิดแอปพลิเคชัน BirdNET จะพบกับหน้าต่างดังภาพ 2 3. เมื่ออยู่ในบริเวณที่ต้องการบันทึกเสียงหรือได้ยินเสียงนก กดปุ่มรูปไมโครโฟนเมื่อต้องการบันทึกเสียงนก และกดปุ่มหยุดเมื่อบันทึกเสียง ของนกเสร็จสิ้น ควรบันทึกเสียงนกให้มีความยาวอย่างน้อย 3 วินาที ขึ้นไป หันไมโครโฟนไปยังทิศทางของแหล่งกำ�เนิดเสียงนก และอยู่ใกล้ แหล่งกำ�เนิดเสียงให้มากที่สุดโดยไม่ทำ�ให้นกตกใจเพื่อให้เสียงที่บันทึกมี คุณภาพมากพอที่จะวิเคราะห์ได้ เสียงที่บันทึกได้จะปรากฏเป็นสเปกโทรแกรม ดังภาพ 3 ภาพ 2 หน้าต่างแอปพลิเคชัน BirdNET ภาพ 4 การเลือกสเปกโทรแกรมของนกเพื่อการ วิเคราะห์ ภาพ 3 การบันทึกเสียงนก 4. เลือกบริเวณสเปกโทรแกรมของเสียงนกที่ต้องการวิเคราะห์ ควรมีความยาวอย่างน้อย 3 วินาที จากนั้นกด Analyze ถ้าต้องการ วิเคราะห์เสียงทันที หรือกด Save เพื่อบันทึกข้อมูลเสียงที่เลือกไว้มา วิเคราะห์ภายหลัง ดังภาพ 4 5. เมื่อวิเคราะห์เสียงนก ระบบจะแสดงสปีชีส์ของนกพร้อม รูปภาพที่ตรงกับเสียงที่บันทึกได้มากที่สุด 1 สปีชีส์ และสามารถกดเข้าไป ดูข้อมูลเพิ่มเติมของนกได้ โดยระบบสามารถดึงข้อมูลทางชีววิทยาของนก จาก Wikipedia ฐานข้อมูล Macaulay Library หรือฐานข้อมูล eBird ตามที่ผู้วิเคราะห์เลือก ซึ่งบางแหล่งจะเลือกชมข้อมูลที่เป็นภาษาไทยได้ ดังภาพ 5 อย่างไรก็ตาม บางครั้งผลการวิเคราะห์อาจขึ้นมามากกว่า 1 สปีชีส์ โดยจะเรียงจากความน่าจะเป็นว่าจะเป็นนกสปีชีส์ใดตามลำ�ดับ เนื่องจาก บางครั้งเสียงร้องของนกมีความคล้ายคลึงกับนกสปีชีส์อื่น หรือคุณภาพ ของเสียงที่บันทึกมาได้ไม่ดีพอที่ปัญญาประดิษฐ์จะวิเคราะห์อย่างแม่นยำ�ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5