นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

ปีที่ 51 ฉบับที่ 241 มีนาคม - เมษายน 2566 27 กิจกรรม : องศา VS เรเดียน จุดมุ่งหมายของกิจกรรม : เสริมความเข้าใจเกี่ยวกับขนาดของมุมในหน่วยองศาและขนาดของมุมในหน่วยเรเดียน แนวทางการดำ�เนินกิจกรรม 1. ครูนำ�เข้าสู่กิจกรรมโดยทบทวนเกี่ยวกับมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่รองรับด้วยส่วนโค้งของวงกลม ดังนี้ วงกลมที่มีรัศมียาว r หน่วย กำ�หนด d เป็นความยาวส่วนโค้งของวงกลม จากภาพ 2 จะเรียก θ ว่ามุมที่จุดศูนย์กลาง ของวงกลมที่รองรับด้วยส่วนโค้งของวงกลมที่ยาว d หน่วย 2. ครูจับคู่นักเรียนแบบคละความสามารถ จากนั้นเปิดสื่อการเรียนรู้ RLRC ที่ https://www.geogebra.org/m/z29hy5kt 3. ครูให้นักเรียนแต่ละคู่สำ�รวจความสัมพันธ์ระหว่างความยาวส่วนโค้งของวงกลมและรัศมีของวงกลม กำ�หนดให้ d 1 , d 2 และ d 3 เป็นความยาวส่วนโค้งของวงกลมที่มีรัศมียาว r 1 = 1, r 2 = 2 และ r 3 = 3 หน่วย ตามลำ�ดับ ซึ่งรองรับมุมที่จุดศูนย์กลางของ วงกลมที่มีขนาด θ องศา โดยวงกลมทั้งสามมีจุดศูนย์กลางเดียวกัน บ ทที่ 1 ฟังก์ชันตรีโกณมิติในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ของ สสวท. ได้แนะนำ�หน่วยในการวัดมุม อีกหน่วยหนึ่ง คือ เรเดียน (radian) เรเดียน คืออะไร ?? องศาและเรเดียนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?? บทความนี้จะนำ�เสนอสื่อการเรียนรู้ RLRC (The Relations between Length and Radius of the Circle) ซึ่งสร้าง จากโปรแกรมสำ�เร็จรูป GeoGebra ภาพ 1 แสดงหน้าจอสื่อการเรียนรู้ RLRC ภาพ 2 โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนสำ�รวจและสร้างข้อคาดการณ์เพื่อนำ�ไปสู่ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับขนาดของมุมในหน่วยเรเดียน และมีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5