นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

ปีที่ 51 ฉบับที่ 241 มีนาคม - เมษายน 2566 33 พ.ศ. 2560) มีการเลือกเนื้อหาบทเรียนที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน มีลำ�ดับการเรียนรู้ มีแบบฝึกหัดของแต่ละบทเรียน ซึ่งเมื่อตอบผิดจะมี คำ�อธิบายเพิ่มเติม นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ส่วนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาได้พัฒนาแชทบอทในไลน์ แอปพลิเคชันที่ชื่อ Mathmeow (แมทเมี้ยว) ครูและนักเรียนสามารถ เพิ่มเป็นเพื่อนและเข้าไปลงทะเบียนและใช้บอทนี้ในการช่วยการจัดการ เรียนรู้ของนักเรียนได้ ซึ่งใน Mathmeow จะให้แยกลงทะเบียนระหว่าง ครูกับนักเรียนเพราะจะมีระบบการติดตามผลการเรียนที่ครูสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดของนักเรียนแต่ละคนได้ เนื้อหาและบทเรียนจะสอดคล้องกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นแบบฝึกหัดของแต่ละบทเรียน ซึ่ง เมื่อตอบผิดจะมีคำ�อธิบายเพิ่มเติม และหากไม่เข้าใจบทเรียนใด นักเรียน สามารถทำ�แบบฝึกหัดซ้ำ�หรือไปเรียนรู้จากคลิปหรือจากคู่มือครู แล้วสามารถกลับมาทำ�แบบฝึกหัดเรื่องนั้นซ้ำ�ได้ด้วยตนเอง นักเรียนจะได้ รับรู้ถึงคะแนนและความสามารถของตนเองและพัฒนาการในการทำ� แบบฝึกหัดแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ครูยังสามารถเข้าไปตรวจสอบและดูคะแนน ของนักเรียนในห้องเรียนที่ลงทะเบียนเข้ามาเรียนได้ด้วย ซึ่งเป็นผู้ช่วยที่ดี สำ�หรับครู สำ�หรับวิชาอื่นๆ กำ�ลังอยู่ระหว่างการดำ�เนินงานพัฒนา เช่น วิชา คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา วิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษาหน้าคงจะได้ใช้ในเวอร์ชั่นทดลอง หากมีความก้าวหน้า ในระบบแชทบอทและหากเปิดโอกาสให้ครูสามารถสร้างแชทบอทเพื่อ การเรียนรู้เองได้จะมาบอกกล่าวกันต่อไปหรือหากมีข้อสงสัยหรือสนใจ เกี่ยวกับแชทบอทสามารถติดต่อผู้เขียนได้ทางอีเมลที่ให้ไว้ มาโนชญ์ แสงศิริ. (2562, 22 กันยายน). การประยุกต์ใช้งาน Chatbot. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/10452-chatbot. AdminP. (2565, 7 มีนาคม). แอปพลิเคชั่น Chatbot ในการศึกษา พวกเขาสามารถสอนเรา?. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.ko.in.th/chatbot/. บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5