นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241
38 นิตยสาร สสวท. การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ระดับที่ 3 การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ระดับที่ 3 ยังคงมีองค์ประกอบ ทั้ง 3 ส่วน มีการขยายความหลักฐาน และมีการขยายความส่วนของ เหตุผลให้มีความซับซ้อนมากขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน และหลากหลายตามหลักฐานที่เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการยืนยันและทำ�ให้เห็น ชัดเจนว่าเพราะเหตุใดหลักฐานนั้นๆ จึงสนับสนุนข้อสรุป ดังตัวอย่าง คำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ต่อไปนี้ “พืชต้องการน้ำ� คาร์บอนไดออกไซด์ และแสงในการเจริญเติบโต (คำ�กล่าวอ้างหรือข้อสรุป) เนื่องจากพืชทั้ง 6 ต้น ที่ได้รับแสงเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ได้รับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ�ในปริมาณคงที่ มีความสูง ของลำ�ต้นเฉลี่ย 20 ซม. มีดอกสีเหลืองรวม 6 ดอก มีใบรวม 15 ใบ และ ทุกใบมีสีเขียว ในขณะที่พืชอีก 6 ต้น ที่ได้รับแสงเป็นเวลา 12 ชั่วโมง แต่ได้รับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ�ในปริมาณจำ�กัดและไม่คงที่ มีความสูง ของลำ�ต้นเฉลี่ย 8 ซม. มีดอกสีเหลืองรวม 2 ดอก มีใบรวม 4 ใบ และ ทุกใบมีสีเขียว แต่ดอกและใบมีขนาดเล็ก (หลักฐาน) เพราะในกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อผลิตน้ำ�ตาลของพืชนั้นพืชต้องใช้น้ำ� คาร์บอน- ไดออกไซด์และแสง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจำ�เป็นต่อการเจริญเติบโต ของพืช ดังนั้น พืชที่ได้รับน้ำ� คาร์บอนไดออกไซด์ และแสงในปริมาณคงที่ จึงเจริญเติบโตได้ดีกว่า (เหตุผล) ” จากตัวอย่างการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ระดับที่ 1 และ 2 ข้อสรุปจะเน้นไปที่ปัจจัยเรื่องแสงต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ในระดับที่ 3 ข้อสรุปมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากนักเรียนระบุปัจจัยที่จำ�เป็นต่อการ เจริญเติบโตของพืชเพิ่มขึ้นในเรื่องของน้ำ�และคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่ง การระบุหลักฐานและเหตุผลก็มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความครบถ้วนและสอดคล้องกันในทุกองค์ประกอบของ การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ภาพ 2 การฝึกเขียนคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ นอกจากการอธิบายทางวิทยาศาสตร์จะช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการอธิบาย ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนแล้ว การบูรณาการการสร้างคำ�อธิบายทาง วิทยาศาสตร์กับการจัดการเรียนรู้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการวัดผล ประเมินผลด้วยเช่นกัน เมื่อนักเรียนพิจารณาตัดสินข้อสรุปด้วยหลักฐาน และการให้เหตุผล ครูจะได้รับรู้ถึงความคิดและความเข้าใจของนักเรียน เกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์แนวคิดดังกล่าวกับ ชีวิตประจำ�วัน การรับรู้เหล่านี้ของครูจัดเป็นเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ ระหว่างเรียน (Formative Assessment Tool) ซึ่งครูสามารถนำ�มา ปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนได้ นอกจากนี้ การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Explanation Task) ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดการเรียน (Summative Assessment Tool) ทั้งการทดสอบในชั้นเรียนและการ ทดสอบมาตรฐานระดับชาติเพื่อประเมินว่านักเรียนสามารถนำ�ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ได้มากน้อยเพียงใด National Research Council. (2001). Classroom assessment and the national science education standards . Washington, DC: National Academy Press. McNeill, K. L. & Krajcik, J. S. (2012). Supporting Grade 5–8 Students in Constructing Explanation in Science: the claim, evidence, and reasoning framework for talk and writing. Boston: Pearson Education, Inc. Zembal-Saul, C., McNeill, K. L., & Hershberger, K. (2013). What’s your evidence? Engaging K–5 students in constructing explanations in Science . Upper Saddle River, NJ: Pearson Education. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5