นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241
ปีที่ 51 ฉบับที่ 241 มีนาคม - เมษายน 2566 41 การเลือกใช้รูบริคแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของผู้สอน หากต้องการประเมินผลงานโดยภาพรวม ไม่ได้แยก ประเด็นย่อยแต่อย่างใด สามารถใช้รูบริคประเมินองค์รวม ไม่มีการระบุ เจาะจงในประเด็นย่อย ใช้เพื่อการพิจารณาผลงานโดยองค์รวม อย่างไร ก็ตาม การประเมินแบบองค์รวม (Holistic) มีจุดด้อยในเชิงข้อมูลที่ได้ อาจไม่ได้ละเอียดและอาจมีความคลาดเคลื่อนจากผลงานจริงไปบ้าง ในขณะที่รูบริคแบบแยกองค์ประกอบ (Analytic) จะเป็นการประเมินที่มี ความละเอียดของประเด็นการประเมินแยกเป็นรายการย่อยเพื่อนำ�ไปคิด เป็นข้อมูลในภาพรวมทั้งหมดของผลงานผู้เรียน ซึ่งรูบริคแบบแยกองค์ประกอบ จะช่วยให้เห็นภาพระดับผลงานในแต่ละประเด็นย่อยได้ชัดเจนมากขึ้น แต่อาจมีความยุ่งยากในการเขียนรายการประเมินและให้คะแนนประเมิน ที่มากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นประเมินแบบองค์รวม (Holistic) หรือประเมินแบบแยกองค์ประกอบ (Analytic) ต่างก็ต้องกำ�หนดระดับ คะแนนประเมินและรายละเอียดข้อบ่งชี้ของแต่ละระดับคะแนนประเมิน ที่กำ�หนดเพื่อให้สามารถระบุคะแนนได้เมื่อนำ�ไปใช้งานจริง รูบริคเดี่ยว (Single-point Rubric) การออกแบบรูบริคประเมินทั้งสองรูปแบบข้างต้นต้องใช้เวลา ในการเขียนรายละเอียดประเด็นรายการประเมิน แจกแจงรายละเอียด เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นและระดับคุณภาพ และผลการประเมินที่ได้ ถูกรายงานในรูปแบบของคะแนน ทำ�ให้ผู้เรียนมุ่งความสนใจไปที่คะแนน ประเมินที่ได้ สนใจว่าผลคะแนนนั้นสื่อความต่อการเรียนรู้ของตนเอง อย่างไร เป็นการจำ�กัดความสามารถผู้เรียนด้วยเหตุที่ว่าคะแนนสูงสุด เป็นเท่าใด ต้องทำ�อะไรได้ แต่ไม่ได้บอกว่าควรมีการพัฒนาในประเด็นใด และประเด็นใดที่ทำ�ได้ดีกว่าที่คาดหวัง จึงเกิดแนวคิดการใช้เครื่องมือประเมิน รูปแบบใหม่เพื่อเป็นทางเลือกในการประเมินผลงานที่สะท้อนข้อเท็จจริง ส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนแต่ละคน โดยเครื่องมือประเมินแบบใหม่นี้ เรียกว่า Single-point Rubric (Fluckiger, 2010) ซี่งในที่นี้จะเรียกเป็นภาษาไทยว่า รูบริคเดี่ยว ซึ่งเป็นแนวคิดของการปรับประยุกต์จากรูบริคประเมินที่แบ่ง ระดับคุณภาพของผลงาน โดยมีการเขียนรายละเอียดระดับคุณภาพของ ผลงานเพียงระดับเดียวคือ ระดับที่คาดหวัง หรือระดับที่ผู้ประเมินเห็นว่า สิ่งที่คาดหวังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดขึ้น จากนั้นจึงพิจารณาผลงานและให้ข้อเสนอแนะหรือข้อพิจารณาเพิ่มเติมหาก เห็นว่าผลงานผู้เรียนยังไม่ถึงเกณฑ์ตามระดับคุณภาพที่คาดหวัง หรือ หากผลงานผู้เรียนทำ�ได้ดีเกินที่คาดหวังแล้วอาจให้ข้อคิดเห็นเป็นการ เสนอแนะเพื่อต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น จุดเด่นที่สำ�คัญประการหนึ่งของการใช้ รูบริคเดี่ยวคือ การได้ให้ข้อเสนอแนะกับผู้เรียนในลักษณะรายบุคคล ไม่ได้ เน้นเพื่อการเปรียบเทียบกับคนอื่น ข้อเสนอแนะจากแบบประเมินช่วยให้ ผู้เรียนทราบข้อเสนอแนะในประเด็นที่ควรพัฒนาหรือประเด็นที่ทำ�ได้ ดีกว่าที่คาดหวัง ดังนั้น ผู้เรียนจะไม่ได้ให้ความสำ�คัญกับระดับคะแนน เหมือนการประเมินด้วยรูบริคทั่วไป ตัวอย่างรูบริคเดี่ยว ตัวอย่างรูบริคเดี่ยวสำ�หรับประเมินหัวข้อ การนำ�เสนอ ดังภาพ 1 จะเห็นได้ว่า รายละเอียดคุณภาพที่ปรากฎในตารางนั้นจะมีเพียงข้อมูลที่ บอกระดับคุณภาพที่เป็นระดับมาตรฐาน (Standard) ที่คาดหวังและต้องการ ให้ผู้เรียนทำ�ได้ โดยมีการแบ่งประเด็นย่อยภายใต้มาตรฐานการนำ�เสนอ ออกเป็นประเด็นสำ�คัญ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การวางแผน (Planning) มีรายละเอียดระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานที่คาดหวังคือ มีการจัดลำ�ดับการนำ�เสนอเป็นอย่างดี ใส่ใจ ในรายละเอียดความสำ�คัญจำ�เป็นต่อการนำ�เสนอให้กับกลุ่มผู้ฟัง 2) เนื้อหานำ�เสนอ (Substance) มีระดับคุณภาพมาตรฐาน ที่คาดหวังคือ การนำ�เสนอแสดงถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้งในประเด็นแนวคิด หรือคำ�ถามสำ�คัญของเรื่องที่นำ�เสนอ 3) การสื่อสาร (Delivery) มีระดับคุณภาพมาตรฐานที่ คาดหวังคือ มีการนำ�เสนอ สื่อสารให้กับผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เขียนได้ทดลองออกแบบและใช้แบบประเมินรูบริคเดี่ยวกับ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในชั่วโมงกิจกรรมเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เวลา 2 ชั่วโมง โดยกิจกรรมการเรียนรู้เป็นเรื่อง ภาพวาดสิ่งประดิษฐ์ทาง วิทยาศาสตร์แห่งโลกอนาคต มีโจทย์สถานการณ์คือ ให้ผู้เรียนวาดภาพ สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่คิดว่าจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต ผู้เรียนมี การตั้งชื่อภาพวาด พร้อมอธิบายแนวคิดของสิ่งประดิษฐ์นั้นว่าเกี่ยวข้องกับ หลักการทางวิทยาศาตร์อะไร วิธีการทำ�งานหรือการใช้งานสิ่งประดิษฐ์นั้น เป็นอย่างไร และทดลองใช้เครื่องมือประเมินรูบริคเดี่ยวโดยให้เพื่อนร่วมชั้น ประเมินกันเอง โดยกระบวนการของการพัฒนารูบริคเดี่ยวเริ่มจากการใช้ รูบริคแบบแยกองค์ประกอบที่มีรายการประเมินย่อยและระดับคะแนน ประเมินคุณภาพ ดังตาราง 1 จากนั้น พิจารณาเลือกระดับความคาดหวัง ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับจากการทำ�กิจกรรม ซึ่งในที่นี้ได้เลือกระดับ คุณภาพ 3 ซึ่งเป็นระดับผลงานเกือบสูงสุด (การกำ�หนดระดับความคาดหวังขึ้น กับครูผู้ออกแบบและการจัดการเรียนรู้ อาจเป็นระดับสูงสุดหรือต่ำ�กว่าหาก เห็นว่ามีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของผู้เรียน) แล้วจึงนำ�ไปใช้เป็น คำ�อธิบายแต่ละรายการประเมิน เพื่อใช้ในการประเมินผลงานผู้เรียน แต่ละคน ดังตาราง 2 ภาพ 1 รูบริคเดี่ยวสำ�หรับประเมิน การนำ�เสนอ ที่มา: https://www.teachthought.com/pedagogy/single-point-rubrics/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5