นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

44 นิตยสาร สสวท. จากตัวอย่างผลงานภาพวาดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์แห่ง โลกอนาคต (ภาพ 2) ผู้เรียนตั้งชื่อภาพวาดว่า “เครื่องโคลนนิ่ง” พร้อมกับ เขียนอธิบายแนวคิดหลักการที่ใช้ในการออกแบบและสร้างเครื่องโคลนนิ่ง การใช้ และประโยชน์ของเครื่องมือ และเมื่อผู้เรียนวาดผลงานเสร็จ ผู้สอนจึงได้ ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลงานกับเพื่อนร่วมชั้นเพื่อประเมินและให้ข้อเสนอแนะ กับเพื่อนโดยใช้แบบประเมินรูบริคเดี่ยวที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้ จะเห็นได้ว่า ผู้เรียนประเมินผลงานเพื่อนร่วมชั้น (ภาพ 3) โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อ การพัฒนาและมีประเด็นข้อคิดเห็นสะท้อนกับเพื่อนร่วมชั้นได้เป็นอย่างดี ทำ�ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อน ผู้เรียนไม่ได้สนใจคะแนนประเมิน แต่จะได้ทราบข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่ได้รับ ดังนั้น แนวทางการประเมิน ด้วยรูบริคเดี่ยวข้างต้นจึงสะท้อนได้อย่างชัดเจนในลักษณะของการประเมิน ตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ผู้เรียนได้เรียนรู้จากข้อเสนอแนะ ของเพื่อน (Peer Assessment) ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินเพื่อพัฒนา ในด้านการเรียนรู้จากการประเมิน ซึ่งเป็นแนวทางการประเมินเพื่อพัฒนา (Assessment for Learning) ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการประเมินนี้ อาจมีข้อจำ�กัดด้านความถูกต้องตามแนวคิด ทฤษฏี หรือหลักการทาง วิทยาศาสตร์รวมถึงภาษาที่ผู้เรียนใช้อาจมีเขียนถูกบ้างผิดบ้าง เนื่องจากระดับ ความสามารถของผู้เรียน และผู้เรียนอาจยังไม่มีความรู้ในเนื้อหาที่กล่าวถึง มากนักในการอธิบายผลงานตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายต่อไปสำ�หรับครูที่ ต้องนำ�ผลงานไปประเมินเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวคิดที่ถูกต้อง หรือมีความเป็นไปได้ในการทำ�งานจริงต่อไป ข้อดีของการใช้แบบประเมินรูบริคเดี่ยว (Danah H, 2017) 1) ช่วยสะท้อนภาพทั้งด้านจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ผู้เรียน ประเด็นการประเมินแต่ละข้อช่วยให้ครูให้แนวคิดหรือข้อแนะนำ� ที่มีความหมายกับสิ่งที่ผู้เรียนทำ�ได้ดีแล้ว และในสิ่งที่สามารถปรับปรุง พัฒนาได้อีก 2) ไม่ทำ�ให้เกิดข้อจำ�กัดที่จะกีดกันความสามารถของผู้เรียน การประเมินด้วยรูบริคเดี่ยวไม่ได้มุ่งให้มีความครอบคลุมทุกประเด็นของ ผลงาน แต่เป็นการช่วยชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอย่าง สร้างสรรค์ ทำ�งานด้วยวิธีการที่จำ�เพาะของแต่ละคน ช่วยกระตุ้นผู้เรียน ไม่ให้รอครูบอกวิธีการฝ่ายเดียว แต่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ หรือทำ�ผลงานด้วยวิธีของตนเอง 3) มุ่งเน้นที่ผลงานผู้เรียนแต่ละคน ไม่ได้เน้นที่การเปรียบเทียบ ผลงานหรือแข่งขันกับคนอื่น ผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับคำ�แนะนำ� ข้อเสนอแนะ ที่เป็นลักษณะเฉพาะแต่ละผลงาน 4) ช่วยให้ผู้เรียนไม่จดจ่อที่ผลคะแนนเท่านั้น แบบประเมิน ถูกออกแบบมาเพื่อเน้นที่การให้ข้อมูลเชิงพรรณา การเขียนข้อเสนอแนะ ให้กับผู้เรียนรายคนมากกว่าการให้ระดับผลการเรียน (Grade) จึงทำ�ให้ ผู้เรียนไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การสอนของครูเพื่อทำ�คะแนนให้ได้ดีเท่านั้น แต่จะช่วยให้ผู้เรียนมองไปที่ประสบการณ์ที่ได้จากการทำ�กิจกรรมหรือ ภาระงานตามที่ได้รับมอบหมายมากกว่าผลคะแนน 5) มีความยืดหยุ่น ไม่มีคำ�อธิบายที่กำ�หนดตายตัว ผู้เรียนจะ ได้รับคำ�แนะนำ� หรือข้อคิดเห็นที่ชัดเจนจากประเด็นที่ครูเขียนอธิบาย และ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อผลงาน ตนเอง ซึ่งต่างไปจากการประเมินแบบองค์รวมหรือแบบแยกองค์ประกอบ ทั่วไปที่ไม่สามารถสะท้อนผลในลักษณะคล้ายกันนี้ได้ 6) เป็นวิธีการประเมินที่เข้าใจได้ง่าย มีรายละเอียดคำ�อธิบาย ในแบบประเมินน้อยกว่ารูบริคที่ใช้กันทั่วไป ซี่งจะเป็นการช่วยให้ผู้เรียน ได้เข้าใจทั้งประเด็นรายการประเมินและข้อแนะนำ�ของครู ซี่งจะทำ�ให้ ผู้เรียนจดจำ�ทั้งสองประเด็นได้ง่ายขึ้น ข้อเสนอแนะการนำ�ไปใช้ แม้ว่าการใช้งานจริงของรูบริคเดี่ยวอาจต้องใช้เวลาในการประเมิน เพื่อให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะกับผลงานแต่ละรายการของผู้เรียนมากกว่า ปกติ อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ในการพัฒนาตนเองได้ตรงประเด็น เห็นเป็นรูปธรรม สะท้อนการประเมิน ตามสภาพจริง ส่งเสริมการพัฒนา (Assessment for Learning) มากกว่า การตัดสิน (Assessment of Learning) และยังช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้ระหว่างการประเมิน (Assessment as Learning) ผู้เรียนไม่ได้ สนใจหรือให้ความสำ�คัญกับคะแนนที่ได้ ดังนั้น การใช้รูบริคเดี่ยวจึงช่วย สร้างคุณค่าของการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน คุ้มค่ากับเวลาที่ครูใช้ในการพัฒนา เครื่องมือและการใช้ประเมินจริง Danah, H. (2017). 6 Reasons to Try a Single-Point Rubric . Retrieved February 27, 2023, from https://www.edutopia.org/article/6-reasons-try-single-point-rubric/. Fluckiger, J. (2010). Single Point Rubric: A tool for responsible student self-assessment . Teacher Education Faculty Publications. Paper 5. Retrieved November 22, 2022, from http://digitalcommons.unomaha.edu/tedfacpub/5. Mertler, Craig A. (2001). Designing scoring rubrics for your classroom . Practical Assessment, Research & Evaluation, 7(25). Retrieved November 22, 2022, from https://scholarworks.umass.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1108&context=pare. Nitko, A. J., & Nitko, A. J. (1996). Educational assessment of students . Englewood Cliffs, N.J: Merrill. กมลวรรณ ตังธนกานนท์ (2564). การประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง: แนวทางที่สอดคล้องกับรูปแบบการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ . สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2566, จาก https://registrar.ku.ac.th/wp-content/uploads/2022/06/%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8% 93_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8% 88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8764.pdf. รัตนาภรณ์ ทรงนภาวุฒิกุล. (2560). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยการให้คะแนนแบบรูบริค: Scoring Rubrics. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย. 12 (1): มกราคม - มิถุนายน 2560. วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 . มูลนิธิสยามกัมมาจล กรุงเทพมหานคร: ส.เจริญการพิมพ์. บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5