นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241
50 นิตยสาร สสวท. ในปีแรก (ค.ศ. 1994) ได้มุ่งเน้นว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ�เป็น หน้าที่ของทุกคน และในปี ค.ศ. 1998 ได้เริ่มมุ่งเน้นไปที่น้ำ�ใต้ดิน เพื่อให้ ครอบคลุมวัฏจักรของน้ำ�ทั้งระบบ และเริ่มมีมุมมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกระบบในโลก ในปีนี้ องค์การสหประชาชาติได้รณรงค์ให้ร่วมกันเร่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ประชาคมโลกในการอุปโภค การบริโภคและการจัดการน้ำ�เพื่อแก้ไขวิกฤติน้ำ� ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งการร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goal (SDG) ใน ข้อที่ 6 ว่าด้วยเรื่องการจัดการน้ำ�และสุขอนามัย ภายในปี ค.ศ. 2030 ที่กำ�ลังจะมาถึง โครงการ GLOBE สสวท. ได้จัดกิจกรรมวันน้ำ�โลกในปีนี้โดย เชิญชวนให้เรียนรู้การตรวจวัดข้อมูลเรื่อง “น้ำ�” ด้วยหลักวิธีดำ�เนินการ ตรวจวัดของโครงการ GLOBE ผ่านทางเว็บไซต์ GLOBE (www.globe.gov ) และให้ส่งผลงานในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น Infographic, Mind Map, การบรรยายพร้อมภาพประกอบ โดยนำ�เสนอแนวคิดการแก้ปัญหาแหล่งน้ำ� ในชุมชนจากการระบุปัญหาของแหล่งน้ำ�ในชุมชน จากนั้นเลือกใช้ หลักวิธีดำ�เนินการตรวจวัดเรื่องน้ำ�ที่สามารถนำ�ไปใช้ตรวจวัดและแก้ปัญหา แหล่งน้ำ�ในชุมชนที่เลือก และนำ�เสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม การส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านน้ำ�อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ตาม แนวทาง GLOBE การสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมผ่าน การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางหนึ่งในการ สร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ�ผ่านการเรียนรู้ และมีความยั่งยืน ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมตามแนวทางของโครงการ GLOBE ซึ่งได้มีการจัดทำ� ตัวอย่างการใช้หลักวิธีดำ�เนินการตรวจวัดที่เป็นมาตรฐานสากล โดยเน้นการตรวจวัดคุณภาพน้ำ�ซึ่งเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่สำ�คัญสำ�หรับการดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และเป็นกุญแจสำ�คัญ ของปฏิกิริยาทางเคมีที่สำ�คัญ ซึ่งปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้จะส่งผลต่อ องค์ประกอบหลักที่สำ�คัญ เช่น ดิน บรรยากาศ แหล่งน้ำ� และ ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบริเวณนั้นด้วย เช่น การเกิด ฝนกรดที่เกิดจากการจับตัวของหยาดน้ำ�ฟ้ากับละอองลอยในอากาศ เมื่อฝนตกลงมาทำ�ให้เกิดการย่อยสลายของหินหรือแร่ธาตุ เมื่อเวลาผ่านไป และเมื่อน้ำ�พาสารประกอบเหล่านี้ไหลไปรวมกัน ในแหล่งน้ำ�จะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ�นั้นๆ ต่อไป GLOBE Water Quality Protocol Bundle GLOBE Program ได้เสนอแนะผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ� โดยองค์ประกอบหลักของ ระบบโลกที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย น้ำ� (ได้แก่ ความเป็นด่างของน้ำ� ภาพ 1 ตัวอย่างผลงานที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมวัน World Water Day 2023 ภาพ 2 ผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ� ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ� ความเค็มของน้ำ� อุณหภูมิน้ำ� ความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ� (pH) ความโปร่งใสของน้ำ� ปริมาณไนเตรต) บรรยากาศ (ได้แก่ หยาดน้ำ�ฟ้า) และดิน (ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่างในดิน) ดังภาพ 2 การตรวจวัด คุณภาพน้ำ� บรรยากาศ ดิน หยาดน้ำ�ฟ้า ความเป็น กรด-ด่างของดิน น้ำ� ความเป็นด่าง ของน้ำ� ปริมาณ ไนเตรต ความเป็น กรด-ด่างของ น้ำ� (pH) ความเค็ม ของน้ำ� อุณหภูมิน้ำ� ปริมาณ ออกซิเจนที่ ละลายในน้ำ� ความโปร่งใส ของน้ำ�
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5