นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

ปีที่ 51 ฉบับที่ 241 มีนาคม - เมษายน 2566 51 The GLOBE Program. Water Quality Protocol Bundle. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566, จาก https://www.globe.gov/web/earth-systems/community/water-quality-bundle. UN-Water. World Water Day 2023. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566, จาก https://www.worldwaterday.org/. บรรณานุกรม ภาพ 3 ตัวอย่างผลงานวิจัยของนักเรียน https://www.youtube.com/watch?v=sS_WnPFMS5E น้ำ�จะอยู่ในแหล่งต่างๆ ในธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่ ในส่วนของบรรยากาศ ปัจจัยที่เน้น ได้แก่ หยาดน้ำ�ฟ้า ซึ่งจะ ส่งผลต่อปริมาณน้ำ�ที่จะไหลลงสู่แหล่งน้ำ�และคุณภาพน้ำ� ในเส้นทางที่ไหลผ่าน รวมทั้งปริมาณฝนก็ส่งผลต่อคุณภาพ ของน้ำ�โดยตรง เช่น ความโปร่งใสของน้ำ� หากมีปริมาณมาก และเกิดดินถล่มจะทำ�ให้น้ำ�ในบริเวณนั้นขุ่นมาก ในส่วนของดิน ปัจจัยที่ระบุ ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ� เพราะ เมื่อน้ำ�ไหลผ่านลงไปในดินจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะส่งผล ต่อค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำ� และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัย ในแหล่งน้ำ�นั้นๆ อีกด้วย สำ�หรับปัจจัยหลักคือการตรวจวัดเรื่องน้ำ� ปัจจัยที่ ตรวจวัดต่างๆ ได้แก่ ความเป็นด่างของน้ำ� (Alkalinity) ซึ่ง สัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะทางธรณีที่น้ำ�ไหลผ่าน โดยจะส่งผล ต่อองค์ประกอบทางเคมีของแหล่งน้ำ�นั้นๆ และค่าความเป็นด่าง ของน้ำ�ยังเป็นค่าที่แสดงถึงความเป็นบัฟเฟอร์ของแหล่งน้ำ� ที่จะช่วยควบคุม pH เมื่อแหล่งน้ำ�นั้นได้รับกรด น้ำ�ที่เป็นบัฟเฟอร์ ที่ดีควรมีค่าความเป็นด่างของน้ำ�มากกว่า 100 ppm as CaCO 3 ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ� เป็นปัจจัยหลักที่สำ�คัญ สำ�หรับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ�เพื่อบ่งบอกว่าแหล่งน้ำ�นั้น มีคุณภาพน้ำ�ที่ดี ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ�ที่เหมาะกับ สิ่งมีชีวิตจะมีปริมาณอย่างน้อย 5 - 6 mg/L แต่ถ้าปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ�ต่ำ�กว่า 3 mg/L จะเป็นอันตรายต่อ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ� ความเค็มของน้ำ� เป็นการวัดปริมาณเกลือ ที่ละลายในน้ำ� ถึงแม้ว่าหยาดน้ำ�ฟ้าที่ตกลงมาจะเป็นน้ำ�จืด แต่เมื่อไหลผ่านดินหรือหิน และละลายเกลือออกมาและไหลลงสู่ แหล่งน้ำ�ผิวดิน ซึ่งค่าเฉลี่ยความเค็มของน้ำ�ทะเลในมหาสมุทร ของโลก เท่ากับ 35 ppt อุณหภูมิของน้ำ� มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยในน้ำ� ระบบนิเวศในแหล่งน้ำ� การวางไข่ของปลา การดำ�รงชีวิตของปลาและสัตว์น้ำ�ต่างๆ และอุณหภูมิยังมีผลต่อ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ� ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ�ลดลง รวมทั้ง ค่า pH ของน้ำ� มีผลต่อ การดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ� ความโปร่งใสของน้ำ� (Transparency) เป็นการวัดความลึกของแสงที่สามารถ ส่องผ่านลงไปในน้ำ� ความโปร่งใสของน้ำ�ขึ้นกับปริมาณของ สารที่แขวนลอยในน้ำ� ซึ่งอาจจะเป็นอินทรีย์สาร เช่น แพลงก์ตอน พืช สาหร่าย หรืออาจจะเป็นอนินทรีย์สาร เช่น ตะกอน และ อาจจะเป็นสารที่ละลายในน้ำ� เช่น คาร์บอเนต สารเหล่านี้ จะจำ�กัดการส่องผ่านของแสงที่ส่องผ่านในน้ำ� อาจจะทำ�ให้แหล่งน้ำ�เกิดสีซึ่งอาจ เกิดจากการมีจำ�นวนและชนิดของแพลงค์ตอนเพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้น้ำ�บริเวณนั้น เปลี่ยนสีไปตามชนิดของแพลงค์ตอนได้ สุดท้ายคือ ปริมาณไนเตรตในน้ำ� การเพิ่มขึ้น ของปริมาณไนเตรต และ ปริมาณฟอสเฟต จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น น้ำ�ทิ้งจาก ชุมชน น้ำ�ทิ้งจากภาคการเกษตร ทำ�ให้มีปริมาณไนเตรตหรือฟอสเฟตมากเกินไป ในแหล่งน้ำ� ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชที่มากเกินไป จากปัจจัยที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ�ดังกล่าว GLOBE Program ได้ยกตัวอย่างผลงานวิจัยของนักเรียนที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด GLOBE International Virtual Science Symposium (IVSS) โดยนักเรียนทำ�การศึกษา ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่พบในป่าพรุใน สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) อำ�เภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง โดยนักเรียน ได้ศึกษาสมบัติของดิน คุณภาพน้ำ� และคุณภาพอากาศต่อความหลากหลายของพืช ในป่าพรุ โดยใช้หลักวิธีดำ�เนินการตรวจวัดของ GLOBE ในการเก็บข้อมูล รายละเอียด เพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ดังภาพ 3 นอกจากการเรียนรู้ผ่านการทำ�งานวิจัยในการตรวจวัดคุณภาพน้ำ� โครงการ GLOBE ยังมีตัวอย่างหลักวิธีดำ�เนินการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ให้ผู้สนใจสามารถ เข้าไปเรียนรู้และศึกษาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้โลกทั้งระบบ โดยศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ https://www.globe.gov/es/web/earth-systems/community รวมทั้ง GLOBE Thailand สสวท. ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม ต่างๆ มากมายโดยสามารถติดตามข่าวสาร และเข้าร่วมกิจกรรมดีดีได้ที่ Facebook GLOBE Thailand (https://www.facebook.com/GLOBEThailandOfficial/ )

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5