นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

52 นิตยสาร สสวท. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันของนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อมคือการให้ความสำ�คัญกับการปกป้องและ รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศเพื่อให้เป้าหมายนี้สำ�เร็จภายในปี 2030 ในฐานะพลโลกต้อง เตรียมความพร้อมด้านการจัดการและบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของ ฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติ การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนรูปแบบการกระจายของเชื้อโรคและ พาหะนำ�โรค รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก ารจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างโอกาสให้ทุกคนได้รับ ความรู้ ค่านิยม ทัศนคติ ทักษะ และพันธะสัญญาต่อการดูแล รักษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุลอย่างยั่งยืน เมื่อครั้ง ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านบทความ PISA in Focus ฉบับที่ 120 เรื่อง Are students ready to take on environmental challenges? พบว่า มีสามประเด็นหลักเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ และอาจเป็นแนวทางให้กับระดับนโยบายหรือผู้ปฏิบัติได้ใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลเพื่อจัดการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนในการสร้าง สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในอนาคตร่วมกัน ผู้เขียนได้แปลและเรียบเรียงข้อมูล สามประเด็นหลัก ดังนี้ ประเด็นแรกคือ การจัดการเรียนรู้ควรมีการส่งเสริมเรื่ อง ความรู้และทักษะทางด้านสิ่งแวดล้อม จากการประเมินของ PISA ด้วย ข้อสอบที่มีชุดคำ�ถามเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ผลการประเมินพบว่า นักเรียนในประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ต่างๆ มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่าง ชัดเจน ตัวอย่างประเทศ/เขตเศรษฐกิจ เช่น แคนาดา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ สเปน จีนฮ่องกง และจีนไต้หวัน โดยเฉลี่ยแล้วนักเรียนส่วนใหญ่ สามารถตอบชุดคำ�ถามเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมใน PISA 2018 ได้ถูกต้อง ในขณะที่บางประเทศ เช่น แอลเบเนีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ปานามา คาซัคสถาน และโมรอคโค มีนักเรียนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ ตอบคำ�ถามดังกล่าวได้ถูกต้อง ความท้าทายของการเตรียมความพร้อม ด้านสิ่งแวดล้อม ให้นักเรียน ดร.นันทวัน สมสุข ผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สสวท. e-mail :nnant@ipst.ac.th ดร.กมลรัตน์ ฉิมพาลี ครูชำ�นาญการพิเศษ โรงเรียนถนนหักพิทยาคม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5