นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

ปีที่ 51 ฉบับที่ 241 มีนาคม - เมษายน 2566 53 จากการวิเคราะห์ข้อมูล ในการประเมินของ PISA 2006 และ PISA 2015 ผลการประเมินของนักเรียนจากการทำ�แบบทดสอบในกลุ่ม ข้อสอบที่วัดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและใช้วัด แนวโน้ม (Trend Items) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างรอบการประเมินนั้น พบว่า เมื่อช่วงเวลาผ่านไป ผลการประเมินลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ใน กลุ่มประเทศ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) ตัวอย่างข้อสอบที่น่าสนใจคือ การดำ�เนินการเพื่อตอบสนองต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เมื่อวิเคราะห์ ข้อมูลจากการทำ�ข้อสอบข้อย่อยหนึ่งในชุดข้อสอบ เรื่อง การเพิ่มขึ้นของ ระดับน้ำ�ทะเล ใน PISA 2018 ดังภาพ 1 พบว่า นักเรียนในวัย 15 ปี มีความรู้ทั่วไปว่า การลดปริมาณแก๊สเรือนกระจกเป็นแนวทางแก้ปัญหา ภาวะโลกร้อนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า มีนักเรียนในสัดส่วน ที่น้อยกว่าตอบได้ถูกต้องว่า การสร้างการป้องกันทางทะเล เช่น เขื่อน หรือกำ�แพงกันคลื่น เป็นการดำ�เนินการเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากภาวะ โลกร้อนในระยะสั้น จากข้อมูลนี้จึงสะท้อนถึงความจำ�เป็นในการทำ�ให้ นักเรียนเข้าใจระหว่างเรื่องการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัวจากผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ซับซ้อนและ มีความแตกต่างกัน ประเด็นที่สองคือ โรงเรียนควรมีการส่งเสริมเจตคติและค่านิยม ด้านสิ่งแวดล้อม ผลการประเมินพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ในประเทศ/ เขตเศรษฐกิจต่างๆ ที่เข้าร่วมการประเมิน PISA 2018 มีเจตคติด้าน สิ่งแวดล้อม โดยวิเคราะห์จากรายการคำ�ถามในแบบสอบถาม ตัวอย่างเช่น การดูแลรับผิดชอบต่อโลก การตระหนักถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ มีความมั่นใจและมีความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเกือบครึ่งหนึ่ง ของนักเรียนเป็นกลุ่มที่ มีความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม (Environmentally Enthusiastic) อย่างไรก็ตาม พบว่ามีนักเรียนจำ�นวนหนึ่งตอบว่าการดูแล รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของโลกไม่ใช่สิ่งสำ�คัญสำ�หรับพวกเขา และ รู้เรื่องราวเพียงเล็กน้อยหรือไม่เคยได้ยินเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ต้อง ส่งเสริมเจตคติและค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป นอกจากนี้ ข้อมูลจาก PISA ยังพบว่า เจตคติด้านสิ่งแวดล้อม และความสามารถทางวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน จากข้อค้นพบนี้อาจเป็นไปได้ว่า การมีเจตคติด้านสิ่งแวดล้อมจะช่วย ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และในขณะเดียวกันการมีความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์จะเป็นพื้นฐาน นำ�ไปสู่การมีเจตคติด้านสิ่งแวดล้อมได้ ประเด็นที่สามคือ ควรส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการกระทำ�ที่ แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยแบบสอบถามนักเรียนของ PISA 2018 ได้สอบถามถึงการมีส่วน เกี่ยวข้องของนักเรียนในกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 5 เรื่อง (ภาพ 2) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ประเทศ/เขตเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉลี่ยแล้ว นักเรียนจำ�นวนหนึ่งในห้าของนักเรียนทั้งหมดมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก ในกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น นักเรียนมีส่วนเกี่ยวข้องถึงสี่กิจกรรม จากทั้งหมด 5 กิจกรรม อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเรียนอีกจำ�นวนหนึ่งเช่นกัน ที่สะท้อนว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมใดๆ เลย จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เจตคติด้านสิ่งแวดล้อมมีความ เชื่อมโยงเชิงบวกกับการมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม นักเรียนที่เห็นความสำ�คัญของสิ่งแวดล้อมจะมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรม เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ ข้อค้นพบที่เป็นด้านบวกคือ ภาพ 1 ตัวอย่างข้อสอบวัดความสามารถเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ชุดข้อสอบเรื่อง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ�ทะเล หมายเหตุ: ชุดข้อสอบเรื่อง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ�ทะเล เป็นข้อสอบที่ OECD อนุญาตให้เผยแพร่ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://pisaitems.ipst.ac.th/ ภาพ 2 คำ�ถามในแบบสอบถามของ PISA 2018 ในประเด็นการมีส่วนเกี่ยวข้อง ของนักเรียนในกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5