นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

54 นิตยสาร สสวท. อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมให้ไปถึงเป้าหมาย เป็นเรื่องที่ท้าทายและอาจมีข้อจำ�กัดในการปฏิบัติสำ�หรับครู เช่น การบริหาร จัดการด้านเนื้อหาและเวลาในการสอนของครู เพราะหากเวลามีจำ�กัดและ ครูขาดความตระหนักถึงความสำ�คัญของการปลูกฝังนิสัยความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการเรียนรู้จะทำ�ได้เพียงสร้างการรับรู้ถึงปัญหา สิ่งแวดล้อมต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลและลงข้อสรุป หรือการจัดทำ�รายงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำ�ให้นักเรียนได้รับรู้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่นั่นถือว่ายังไม่เพียงพอต่อการสร้างแรงจูงใจและเจตคติต่อการศึกษา ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเชิงลึก อีกทั้งยังทำ�ให้ขาดโอกาสในการฝึกปฏิบัติที่จะ สร้างคุณลักษณะในการดูแลสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้นักเรียนรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่สามารถตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม และขาดความตระหนักถึงความสามารถของการเป็นจุดเริ่มต้นแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง สำ�หรับโรงเรียนก็จำ�เป็นต้องเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ครูได้รับ ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เกิดกระบวนทัศน์ที่สำ�คัญในการออกแบบการเรียนรู้ที่มุ่งสร้างความรู้และ ทักษะทางด้านสิ่งแวดล้อม เจตคติ ค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อม และการ กระทำ�ที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกโรงเรียน ตลอดจนมีการขยายความร่วมมือเพื่อสร้างภาคีเครือข่ายทางด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรงกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรม เช่น โครงงานด้านสิ่งแวดล้อม การทดลองบริหารจัดการและ เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่าน กระบวนการการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับต่างๆ นอกจากนี้ ระดับนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ควรมีการจัดทำ�ตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สามารถสร้าง แรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนด้านสิ่งแวดล้อม และช่วยให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นภาพรวม ตั้งแต่ใกล้ตัวไปจนถึงระดับที่ห่างออกไปในระดับชุมชน ประเทศ และโลก และรับรู้ว่าการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญนั้นเริ่มต้นที่ตัวเราเอง อีกทั้ง หน่วยงานต่างๆ ควรมีความต่อเนื่องในการจัดการส่งเสริมและสร้างเวที สำ�หรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการลงมือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้โรงเรียน ครู ตลอดจนสมาชิกทุกคนในสังคมตระหนักถึงความสำ�คัญของปัญหา สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพราะทุกคนล้วนเป็นนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้าน สิ่งแวดล้อมของนักเรียน และเมื่อเราสามารถเตรียมความพร้อมโดยการ ปลูกฝังนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ นั่นก็จะเป็น แนวทางสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่โลกได้ต่อไป โดยเฉลี่ยแล้วนักเรียนถึง 8 ใน 10 คน รายงานว่ามีการดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ก็พบว่าในเรื่องการเห็นความสำ�คัญของสิ่งแวดล้อมนั้นก็แตกต่างกัน ตามสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมและเพศของนักเรียนด้วยเช่นกัน โดย กลุ่มนักเรียนหญิงและ/หรือกลุ่มนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมได้เปรียบค่อนข้างเห็นความสำ�คัญของสิ่งแวดล้อมมากกว่ากลุ่ม นักเรียนชายและ/หรือกลุ่มนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ด้อยเปรียบ ดังนั้น จึงมีความจำ�เป็นต้องส่งเสริมเรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับ กลุ่มเหล่านี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่ากังวลคือ การเกิดปรากฏการณ์ที่ นักเรียนกลุ่มที่มีความตื่นตัวในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่มีการ ลงมือทำ�ที่แสดงออกถึงการปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อม (Environmental Mis- alignment) จากข้อมูลพบว่า ในประเทศ/เขตเศรษฐกิจต่างๆ นักเรียน ที่มีเพื่อนในโรงเรียนหรือพ่อแม่ที่ทำ�กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้ม น้อยลงที่จะเกิด Environmental Misalignment แสดงให้เห็นว่าสังคม ในโรงเรียนและที่บ้านมีส่วนสำ�คัญสำ�หรับการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่นกัน ข้อมูลข้างต้นของ PISA in Focus ฉบับนี้ สะท้อนให้เห็น ประเด็นที่น่าสนใจในการเก็บข้อมูลเรื่องสิ่งแวดล้อมของนักเรียนวัย 15 ปี จากประเทศ/เขตเศรษฐกิจต่างๆ จากข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความจำ�เป็นที่ ยังคงต้องส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และ ทักษะด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความสำ�คัญ มีเจตคติ ด้านสิ่งแวดล้อม และเกิดการกระทำ�นำ�สู่การดูแลสิ่งแวดล้อมต่อไป สำ�หรับนักเรียนไทยวัย 15 ปี ข้อมูลจากหนังสือ Are Students Ready to Take on Environmental Challenges? ของ OECD ซึ่ง เผยแพร่เมื่อปี 2022 สะท้อนผลจากการรายงานของนักเรียนไทยผ่าน แบบสอบถามว่า นักเรียนไทยเป็นกลุ่มที่มีเจตคติและค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อม ในระดับที่สูง ผู้เขียนจึงมองว่า ประเด็นนี้เป็นจุดแข็งของประเทศไทยที่จะ นำ�ไปสู่การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาได้ดีต่อไป ซึ่งผลจากการประเมิน ดังกล่าวอาจเป็นไปได้จากการมีกิจกรรมรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมจากภาคส่วน ต่างๆ และในภาคการศึกษาเองก็ให้ความสำ�คัญกับการจัดการเรียนรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับนักเรียนในทุกระดับ โดยจะเห็นได้จากการบรรจุการเรียน การสอนเรื่องสิ่งแวดล้อมไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาให้นักเรียนตระหนัก ถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศโดยไม่ทำ�ลาย สมดุลของระบบนิเวศ โดยครูและโรงเรียน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ นับว่า มีส่วนสำ�คัญในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว OECD. (2022). Are Students Ready to Take on Environmental Challenges?. Retrieved March 20, 2023, from https://doi.org/10.1787/8148c568-en. OECD. (2022). Are Students Ready to Take on Environmental Challenges?. Retrieved March 20, 2023, from https://doi.org/10.1787/8abe655c-en. SUB_BUA. (2022, April 5). SDGs กรอบอาชีพยั่งยืน หนุนเศรษฐกิจ-แก้ไขปัญหาสังคม. ประชาชาติธุรกิจ. Retrieved March 20, 2023, from https://www.prachachat.net/csr-hr/news-758988. บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5