นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241
ปีที่ 51 ฉบับที่ 241 มีนาคม - เมษายน 2566 59 QUIZ สวัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รัก สำ�หรับฤดูที่กำ�ลังเปลี่ยนจากร้อนไปฝน ซึ่งจะเห็น ภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้ชัดเจนมากกว่าในอดีตอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นร้อนสุดๆ ลมพายุแรงขึ้นกว่าแต่ก่อน มีลูกเห็บตกบ่อยครั้งขึ้น แม้แต่ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ที่มีความรุนแรงมากขึ้นและเกิดขึ้นต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานมากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากวิถีชีวิตของมนุษย์โลกที่ เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง และยังรวมไปถึงปัญหาสารพิษหรือของเสียต่างๆ อันเกิดจากภาคการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่พัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารพัดที่คุณและต่ายใช้อยู่ทุกวันนี้ จ ากผลกระทบต่างๆ ที่กล่าวมา เชื่อไหมว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิด บนโลก แม้แต่จุลินทรีย์ที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าก็ได้รับ ผลกระทบไปด้วย สิ่งมีชีวิตชนิดใดปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ไม่ได้ก็ต้องสูญพันธุ์ไป และถ้าจะพูดถึงเรื่องสูญพันธุ์ เราก็มักจะนึกถึง การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่เรามองเห็นก่อนเป็นอันดับแรก เช่น การสูญพันธุ์ ของพืช การสูญพันธุ์ของสัตว์ แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้มีการพูดถึง เรื่อง “The hidden extinction” หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการสูญพันธุ์ที่ซ่อนอยู่ เป็นการสูญพันธุ์ที่มองเห็นไม่ชัดเจนโจ่งแจ้งเหมือนกับการสูญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ การสูญพันธุ์ที่มองไม่เห็นก็คือ การสูญพันธุ์ ของจุลินทรีย์หรือการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากๆ แล้วอะไร ที่เป็นสาเหตุที่ทำ�ให้นักวิทยาศาสตร์ต้องสนใจและกังวลกันในเรื่องนี้ ต่ายจะพาคุณๆ ไปย้อนอดีตกันสักหน่อย ในสมัยประถมเรา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยจะมีความสัมพันธ์ในหลายๆ รูปแบบ แต่ที่ เราคุ้นเคยกันดีก็น่าจะเป็นความสัมพันธ์กันในสายใยอาหารและห่วงโซ่อาหาร ในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ซึ่งจะมีสิ่งมีชีวิตมากมาย หลายชนิดรวมทั้งจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง และนักวิทยาศาสตร์ พบว่าจุลินทรีย์มีความสำ�คัญอย่างมากในการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต เพื่อทำ�ให้เกิดการหมุนเวียนของวัฎจักรของสารต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมของโลก ถ้าขาดจุลินทรีย์ไปวัฏจักรของสารต่างๆ ก็จะไปต่อไม่ได้ ในอดีตมนุษย์เชื่อว่าจุลินทรีย์สามารถเพิ่มจำ�นวนได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น จุลินทรีย์ก็ไม่น่าจะได้รับ ผลกระทบใดๆ แต่ปัจจุบันนักจุลชีววิทยาพบแล้วว่า แม้แต่จุลินทรีย์ก็ยังได้รับ ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน โดยพบว่าพวกมันได้รับผลกระทบ ทั้งในเรื่องของความหลากหลายและการลดจำ�นวนลงด้วย นักวิทยาศาสตร์คาดว่า บนโลกน่าจะมีสัตว์อยู่ประมาณ 7.7 ล้าน ชนิด และประมาณ 80% ของจำ�นวนสัตว์ทั้งหมดจะเป็นสัตว์ในกลุ่มแมลง (Insects) และอาร์โทรพอด (Arthropods) ชนิดอื่นๆ แต่สำ�หรับชนิดของ ฟังไจ (Fungi) ซึ่งเป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารที่อยู่บนบกคาดว่าน่าจะมีอยู่ อย่างน้อย 6 ล้านชนิด ส่วนพวกแบคทีเรียก็น่าจะมีมากกว่าล้านล้านชนิด เลยทีเดียว ถ้าหากเราจะเปรียบเทียบการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น พืช ปลา แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ� สัตว์เลื้อยคลาน นก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่างๆ เหมือนภูเขาน้ำ�แข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำ�ทะเล การสูญพันธุ์ของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ บนโลกที่มีมากมายมหาศาล ก็จะ เปรียบได้กับปริมาตรของน้ำ�แข็งที่จมอยู่ใต้ทะเล ซึ่งมีปริมาตรมากมาย ขนาดไหน คุณๆ ลองดูข้อมูลจากตาราง 1 ของทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ นำ�เสนอไว้ ผู้บริโภค (Consumer) ผู้ผลิต (Producer) ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (Decomposer)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5