นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241
60 นิตยสาร สสวท. ิ ต รักปอด รอดมะเร็ง คุณๆ ต้องเร่งใส่หน้ากาก กันฝุ่น PM2.5 ต่าย แสนซน ที่มา: Weinbauer, M. G., & Rassoulzadegan, F. (2007). Extinction of microbes: evidence and potential consequences. Endangered Species Research, 3(2), 205-215. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ และจุลินทรีย์ที่ทำ�หน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย ที่มา: https://socratic.org/questions/552ffa66581e2a5d39b75fef ตาราง 1 ค่าประมาณของจำ�นวนจุลินทรีย์ (microorganisms) ที่พบในทะเลและในดิน (Whitman et al. 1998, Weinbauer & Herndl 2002, Suttle 2005) QUIZ ถึงตอนนี้น่าจะมองเห็นแล้วว่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรา มองไม่เห็นจะมีจำ�นวนมากกว่าสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่าอย่างมากมาย สำ�หรับจุลินทรีย์ พบว่าจุลินทรีย์เองก็จะมี การแพร่กระจายในสภาพแวดล้อมที่จำ�เพาะแตกต่างกันเหมือนสัตว์ขนาดใหญ่ เช่นกัน ดังนั้น ถ้าสิ่งแวดล้อมถูกทำ�ลายมันก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เช่นกัน และอย่างที่กล่าวไปในตอนต้นแล้วว่าหน้าที่หลักของพวกมันก็คือ “เป็น ผู้ย่อยสลาย” โดยจุลินทรีย์หลายชนิดจะอาศัยอยู่ร่วมกันกับสิ่งมีชีวิต ชนิดอื่นๆ ที่พบมากก็จะเป็นการอาศัยร่วมกันแบบ Symbiosis กับพืช หรือ กับสัตว์ ซึ่งตัวอย่างที่ปรากฎคุ้นหูคุ้นตาในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ก็คือ การอาศัยอยู่ร่วมกันของพืชตระกูลถั่วกับฟังไจ (ที่ชื่อ Mycorrhiza) หรือ แบคทีเรีย Rhizobium ที่อาศัยในปมรากพืชตระกูลถั่วและตัวมันสามารถ ตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาสร้างเป็นสารประกอบที่พืชและตัวมันเอง สามารถนำ�เอาไปใช้ในการดำ�รงชีวิตได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของจุลินทรีย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่น จุลินทรีย์ ที่พบอาศัยอยู่เฉพาะที่เส้นขนของช้างแมมมอธ หรือเส้นขนของนกโดโด รวมทั้ง จุลินทรีย์ที่อาศัยร่วมกับปรสิตของสัตว์ทั้งสองชนิด ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มี ความจำ�เพาะเจาะจงกับถิ่นที่อยู่อาศัยมากๆ เมื่อสิ่งมีชีวิตที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย จำ�เพาะของมันสูญพันธุ์ไปก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้มันสูญพันธุ์ตามไปด้วย อีกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำ�คัญของจุลินทรีย์ในดินที่เป็น Microorganisms Prokaryotes Viruses Protists Ocean 10 29 10 30 10 26 Soil 10 29 10 28 10 26 ผู้ย่อยสลายก็คือ มันทำ�ให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพราะเมื่อมันทำ�หน้าที่ ของมันแล้ว ซากอินทรีย์ที่ถูกย่อยสลายก็จะแปรสภาพเป็นสารอาหาร อินทรีย์ที่พืชและจุลินทรีย์ต่างๆ สามารถนำ�เอาไปใช้ประโยชน์ในการ ดำ�รงชีวิตต่อได้ จากสถานการณในปัจจุบันของประเทศไทยการเผาไร่นาเพื่อ เตรียมพื้นที่สำ�หรับการเพาะปลูกในประเทศไทยที่นอกเหนือจากการเป็น สาเหตุของการทำ�ให้เกิดกลุ่มหมอกควันพิษและฝุ่น PM2.5 แล้ว ความร้อน จากการเผายังเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้เกิดการสูญพันธ์ของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิต ในดินในบริเวณนั้นๆ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินต้องอาศัยความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิตในดินด้วยเช่นกัน ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทยของเราจะเลิกการเผา แล้วเปลี่ยนมาเป็นการไถกลบซึ่งพบว่าช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ มีงานวิจัยพืชไร่จากหน่วยงานของรัฐหลายแห่งที่ทำ�ให้เห็นว่าการเผาไร่นา ทำ�ลายคุณภาพดินแต่เกษตรกรอาจจะไม่รู้ จึงมองไม่เห็นประโยชน์ของ การเปลี่ยนวิธีการในการเพาะปลูก และต่ายเชื่อว่าหากเราเริ่มให้ความรู้ ในเรื่องนี้ตั้งแต่ในระดับโรงเรียนก็น่าจะช่วยทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในอนาคตได้ คุณคิดเห็นเป็นอย่างไรในเรื่องนี้ สามารถ e-mail มาคุย กับต่ายได้ ที่ funny_rabbit@live.co.uk และต่ายขอให้คุณสุขภาพดี ปลอดภัยจากปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ดูท่าทีแล้วน่าจะอยู่กับคนไทยไปทั้งปี เลยทีเดียว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5