นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241

ปีที่ 51 ฉบับที่ 241 มีนาคม - เมษายน 2566 7 (3) พัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และกระตุ้นให้เกิดและใช้ความคิดสร้างสรรค์ อย่างเป็นระบบเพื่อโรงเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ โดยพัฒนากิจกรรม วิทยาศาสตร์พลังสิบเนื้อหาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สะเต็มศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ภาคเรียนที่ 1 และ 2) 4 เล่ม จัดอบรม ครูแกนนำ� 114 คน และขยายผลต่อโดยจัดอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน 489 คน จาก 96 โรงเรียน และมีนักเรียนที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรดังกล่าว 8,400 คน นอกจากนี้ ยังได้พัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 สำ�หรับนักเรียน 1 เล่ม และครู 1 เล่ม และอยู่ระหว่างการร่างต้นฉบับสำ�หรับภาคเรียนที่ 2 โดยมีโรงเรียนในกลุ่มเป้าหมายโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบระดับ มัธยมศึกษาได้รับการพัฒนา 94 โรงเรียน รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรผู้บริหาร โรงเรียนในโครงการฯ 1.2 การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และกระตุ้นให้เกิดและใช้ความคิด สร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ และสามารถนำ�ไปใช้ศึกษาต่อเป็นนักนวัตกร ตามแนวทาง KOSEN พัฒนาบุคลากรตามแนวทางโคเซ็นในลักษณะ การเสริมความรู้ให้กับบุคลากรของไทยโคเซ็นด้วยการจัดอบรมออนไลน์ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมิน และการบริหารจัดการตาม แนวทางโคเซ็นสำ�หรับบุคลากรของไทยโคเซ็น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 136 คน 1.3 การวิจัย วัดผล และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับประเทศ และระดับ นานาชาติ ได้แก่ (1) ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีร่วมกับนานาชาติ โดยได้ดำ�เนินงาน PISA 2022 รอบ การวิจัยหลัก (Main Survey) ได้แก่ จัดทำ�ข้อสอบและแบบสอบถาม PISA 2022 รอบการวิจัยหลักฉบับภาษาไทย จัดประชุมชี้แจงผู้ประสานงานและ ผู้คุมสอบ และจัดสอบรอบการวิจัยหลัก เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 โดยมี นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการประเมินจำ�นวน 8,509 คน จาก 280 โรงเรียนทั่วประเทศในทุกสังกัดการศึกษา และจะประกาศผลการประเมิน ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในเดือนธันวาคม 2566 นอกจากนั้น ยังได้จัดทำ�อินโฟกราฟิกเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ PISA ผ่านทาง Facebook IPST Thailand และเว็บไซต์ PISA Thailand ของ สสวท. รวมทั้งดำ�เนินงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) พัฒนาเครื่องมือในการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ระดับอุดมศึกษาตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนของ สสวท. โดยได้ พัฒนากรอบการประเมินและข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำ�หรับคัดเลือกนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาต่อระดับ อุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565 (TCAS 65) ได้แก่ ข้อสอบ 8 วิชา รวม 16 ฉบับ และปีการศึกษา 2566 (TCAS 66) ได้แก่ กรอบการสร้างข้อสอบ 6 วิชา รวม 6 ฉบับ และ (ร่าง) ข้อสอบวิชาสามัญ (A-level) 6 วิชา รวม 12 ฉบับ นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ�รายงานการวิจัยเพื่อศึกษาคุณภาพของข้อสอบวิชา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ปีการศึกษา 2565 (TCAS 65) ทำ�ให้ได้ประเด็นและสารสนเทศสำ�หรับ ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเชิงนโยบายในการพัฒนาการเรียนการสอน และเตรียมนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาต่อไป ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านเครือข่าย สสวท. ให้้มี คุณภาพทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ 2.1 การพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยี และบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนโครงการพระราชดำ�ริ ได้แก่ (1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามโครงการในพระราชดำ�ริสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี โดยได้พัฒนาครูในรูปแบบออนไลน์ด้านการจัดการเรียนรู้ตาม แนวทาง สสวท. ด้วยสื่อ Project 14 วิชาคณิตศาสตร์ ให้แก่ครูโรงเรียน ตำ�รวจตระเวนชายแดน 608 คน (2) พัฒนาครูในโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ โรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงในการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคำ�นวณ โดยได้พัฒนาครูโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรม ราชูปถัมภ์ 36 คน ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้และนำ�ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5