นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 241
8 นิตยสาร สสวท. ในการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม หลังจากนั้นได้สังเกตการสอนของครู รวมทั้งนิเทศการสอน (3) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา สื่อ และกระบวนการเรียนรู้ใน ระดับปฐมวัยตามแนวทางสะเต็มศึกษาและโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โดยได้จัดทำ�ต้นฉบับและต้นแบบชุดกิจกรรมและวีดิทัศน์การเรียนรู้บูรณาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับปฐมวัย ตามแนวทาง สะเต็มศึกษา และได้นำ�ไปทดลองใช้ใน 40 โรงเรียน นอกจากนั้น ได้ จัดอบรมครูในรูปแบบออนไลน์ หัวข้อ “การจัดทำ�นิทานส่งเสริมการเรียนรู้ บูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับปฐมวัย (3 - 6 ปี)” แล้วจัดการประกวดนิทานซึ่งมีผลงานรางวัลดีเด่น 5 เรื่อง และรางวัลชมเชย 10 เรื่อง นอกจากนี้ ได้จัดอบรมครูปฐมวัย 3,875 คน ใน 3 หลักสูตร และ ประเมินโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยให้กับโรงเรียนเครือข่ายภาคใต้ 480 โรงเรียน (480 โครงงาน) ซึ่งได้จัดพิธีรับตราพระราชทานผ่าน Facebook Live “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย (The Little Scientists’ House Thailand)” 2.2 การปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา ตามแนวทาง สสวท. ได้แก่ (1) พัฒนานักเรียนอย่างมีคุณภาพด้วยการจัดประสบการณ์เรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา โดยบูรณาการกับ 4 หน่วยงาน โดยได้พัฒนาคูมือการอบรม เอกสารประกอบการอบรมวีดิทัศน ตัวอยางการสอนในชั้นเรียน และจัดอบรมให้แก่ครูสังกัดสำ�นักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำ�นักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) และ กรุงเทพมหานคร (กทม.) 34,572 คน ผ่านระบบอบรมครูออนไลน์ สสวท. ด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน 5 หลักสูตร และวิจัยประเมินผลการพัฒนาครูโครงการพัฒนานักเรียนอยางมีคุณภาพ ดวยการจัดประสบการณเรียนรู วิทยาศาสตร คณิตศาสตร เทคโนโลยี และ สะเต็มศึกษา โดยบูรณาการกับ 4 หนวยงาน โดยระยะที่ 3 ป 2565 เป็น การประเมินประสิทธิภาพของโครงการจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน คุณภาพการสอน และผลการเรียนรู้ของนักเรียน (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมตามแนวทาง สสวท. โดยได้จัดการประกวดเพื่อส่งเสริม ศักยภาพครูและนักเรียนในการทำ�งานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและ นวัตกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ� ประกอบด้วย GLOBE Student Research Competition 2022, Thailand Junior Water Prize และ Stockholm Junior Water Prize 2022, GLOBE Thailand Teacher Shining Star Award 2022 จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักในการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในรูปแบบออนไลน์โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1,209 คน พัฒนาสื่อวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและจัดพิมพ์สื่อส่งเสริมสมรรถนะการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 4 รายการ พัฒนาศักยภาพครูในด้านการ เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบในรูปแบบ ออนไลน์ 910 คน และดำ�เนินการบริหารงานโครงการ GLOBE ประเทศไทย ได้แก่ เข้าร่วมการประชุมนานาชาติ 2022 GLOBE Asia-Pacific Virtual Regional Meeting ในรูปแบบออนไลน์ มีผู้ร่วมการประชุม 282 คน และ จัดงาน GLOBE Thailand Awards 2022 ในรูปแบบออนไลน์ มีผู้ร่วมงาน 118 คน นอกจากนั้น ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนตามแนวทาง สสวท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ดำ�เนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัย 20 แห่ง พัฒนา และส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 และ สมรรถนะสำ�คัญของผู้เรียนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีผู้เข้าร่วม กิจกรรม 2,185 คน และพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการทำ�งานวิจัยสิ่งแวดล้อม 20 ต้นแบบ รวมทั้งประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้เรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมโครงการต้นแบบการส่งเสริมการทำ�งานวิจัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ประจำ�ปี 2565 ส่งเสริมการเรียนรู้ในโครงการ The Extension of GLOBE Research Program and Network to Strengthen Local Wisdoms in Rural Areas of Thailand และพัฒนาครูโครงการ Data Science@ School with GLOBE ภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดยจัดอบรมให้แก่ครูในโรงเรียนที่ เข้าร่วมโครงการอุตุน้อย 41 คน จาก 26 โรงเรียน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5