นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242

20 นิตยสาร สสวท. ชนิดนี้คือ ถ่ายรูปแล้วนำ�ไปค้นหาใน Google Lens การแสดงผลจะเป็น ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย และถ้าแสดงข้อมูลไม่ครบตามความต้องการ สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ การค้นหาด้วย Google Lens ทำ�ได้ ดังภาพ 8 - 10 ภาพ 8 เปิดแอปพลิเคชัน Google Lens แล้วกดเลือกดอกไม้ที่ต้องการค้นหาจากรูป ที่บันทึกไว้ในสมาร์ตโฟน ภาพ 9 ขึ้นผลการค้นหาเป็น Oleander เลื่อนดูข้อมูลต่างๆ ถ้ายังไม่ได้ข้อมูลตามต้องการ ให้กด Search ภาพ 10 ใส่คำ�ค้นหาเพิ่มเติม เช่น พิษ หน้าจอ จะแสดงผลว่า ดอกไม้ที่ค้นหานั้นคือดอกยี่โถ และ แนะนำ�เว็บไซต์ต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับพิษ เมื่อสืบค้นจนได้เว็บไซต์ต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับดอกยี่โถและ ความเป็นพิษแล้ว ให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมโดยเลือกจากเว็บไซต์ที่มี ความน่าเชื่อถือ หรืออ่านจากหลายเว็บไซต์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เช่น ในเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้ข้อมูลไว้ว่าต้นยี่โถ ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Cardiac Glycosides หลายตัวซึ่งสามารถทำ�ให้ เกิดพิษต่อหัวใจและระบบอื่นๆ ในตำ�รายาไทยเขียนไว้ว่า ดอก บำ�รุงหัวใจ ทำ�ให้ชีพจรเต้นเร็ว แก้ปวดศีรษะ ใช้มากเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และ ในเว็บไซต์ยังมีคำ�แนะนำ�ให้ปลูกยี่โถเป็นไม้ดอกไม้ประดับมากกว่าจะใช้ เป็นยา จากข้อมูลที่สืบค้นมานี้พบว่า ดอกยี่โถมีพิษ จึงห้ามนำ�ดอกยี่โถ มารับประทาน ประดับจาน หรือตกแต่งขนมและเครื่องดื่มโดยเด็ดขาด ดังนั้น ถ้าเราไม่หาข้อมูลก่อนแล้วนำ�ดอกยี่โถมาใช้ตกแต่งจานเพราะเป็น ดอกไม้ทั่วไปที่พบได้ในบ้านและมีสีสันสวยงาม ยางจากดอกยี่โถอาจปนเปื้อน ในอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปจะเป็นอันตรายได้ จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่า สิ่งที่สำ�คัญที่สุดในการเลือกดอกไม้คือ จะต้องไม่มีพิษ ดังนั้น ในการเลือก ดอกไม้ที่ปลูกเองในบริเวณบ้านมาบริโภคจะต้องเลือกดอกไม้ที่รู้จักชื่อและ แน่ใจว่าสามารถรับประทานได้ ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต โดยเลือกจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ ถ้าไม่รู้จักชื่อจะต้องสืบค้นจนแน่ใจจึงจะ นำ�ดอกไม้มาใช้ นอกจาก Google Lens แล้ว ยังมีแอปพลิเคชันอื่นอีกที่สามารถ นำ�มาใช้สืบค้นชื่อของดอกไม้ได้ นั่นก็คือ Seek by iNaturalist เป็น แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนที่รองรับการใช้งานผ่านระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์และ iOS สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยที่ แอปพลิเคชันจะช่วยแนะนำ�ว่าสิ่งมีชีวิตที่พบเป็นชนิดใด โดยอ้างอิงจาก รูปสิ่งมีชีวิตที่หน้าตาใกล้เคียงกันจากฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในระบบมากกว่า 30,000 ชนิด และเชื่อมโยงข้อมูลสิ่งมีชีวิตจาก Wikipedia นอกจากจะใช้ ค้นหาชื่อสิ่งมีชีวิตแล้วเมื่ออัพโหลดภาพสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ แล้ว ระบบ จะเก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานและได้รับป้ายบอกระดับการสะสม การค้นหาทำ�ได้ดังภาพ 11 - 16

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5