นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242
ปีที่ 51 ฉบับที่ 242 พฤษภาคม - มิถุนายน 2566 27 ส ำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.ป.ป.) ได้จัดทำ� โครงการ Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming หรือหลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีตใน โรงเรียน มีแนวคิดต่อยอดแบบบูรณาการระหว่างแนวคิดและองค์ความรู้ เกษตรกรรมแบบประณีตกับการปรับใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในระบบ เกษตรกรรมอัจฉริยะ หรือ Smart Farm โดยมีเป้าหมายสำ�คัญคือ การมุ่งพัฒนาให้นักเรียนเกิดการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะพื้นฐานทาง ด้านเกษตรกรรมแบบประณีตที่บูรณาการเทคโนโลยี เกิดการเรียนรู้อย่าง บูรณาการ รู้จักปรับใช้ความรู้มาสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ� เกษตรกรรม ตลอดจนสามารถต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาการคำ�นวณ บนพื้นฐานของการทำ� เกษตรกรรมแบบประณีตไปสู่ครอบครัว ชุมชน และการประกอบอาชีพได้ ในอนาคต โดยดำ�เนินการยกร่างกรอบแนวคิดของหลักสูตรเพื่อเป็น แนวทางให้โรงเรียน นำ�ไปดำ�เนินการปรับใช้ตามบริบทเชิงพื้นที่ของตน ดังแผนภาพ 1 แผนภาพ 1 กรอบแนวคิดของโครงการ Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming แผนภาพ 2 ผังมโนทัศน์กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์บูรณาการกับการเกษตรสู่การเป็นผู้ประกอบการ โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียนมีแนวคิดการทำ� การเกษตรแบบผสมผสานตามบริบทของพื้นที่ เน้นการผลิตแบบพึ่งพาตนเอง ทำ�การผลิตที่มีความหลากหลายเพื่อการบริโภคที่เพียงพอ สามารถ นำ�ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคไปจำ�หน่ายเพื่อสร้างรายได้ มุ่งเน้น กระบวนการคิดของเกษตรกรแบบผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม ตั้งแต่การวางแผนก่อนการหว่านเมล็ดจนถึงการขายสินค้า ทำ�ให้เกษตรกร สามารถลดภาระของตัวเองได้ด้วยการลงทุนในระบบที่ดีในระยะยาว เพื่อ ผลักดันประสิทธิภาพการผลิตของตัวเองให้ได้มากที่สุด ภายใต้งบประมาณ ที่เหมาะสมที่สุด (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2556) ตัวอย่างโรงเรียน ที่มีบริบทเหมาะสมกับโครงการฯ ได้แก่ โรงเรียนชลธารวิทยาเป็นโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดเล็กตั้งอยู่ที่ตำ�บลบ้านควน อำ�เภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ผู้ปกครองนักเรียนเกือบทั้งหมดประกอบอาชีพทำ�การเกษตร ทางโรงเรียน พิจารณาแล้วว่าหลักสูตรดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนจึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2565 โดย โรงเรียนได้จัดในรูปของกิจกรรมเสริมหลักสูตรในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่ม เวลารู้ จากการวิเคราะห์พันธุ์พืชที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ของชุมชน พบว่า มะระขี้นก ซึ่งจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำ�คัญชนิดหนึ่งของจังหวัดชุมพร มีการ บริโภคผลสด ยอดอ่อน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เช่น เครื่องดื่มผง สำ�เร็จรูป ตลอดจนผลิตเป็นยาแคปซูล ใช้เวลาในการปลูกไม่นาน นักเรียน สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำ�ไปจำ�หน่าย สร้างรายได้เสริม เพราะมีตลาดรองรับ โรงเรียนจึงจัดให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ลงมือทำ�แปลงปลูกตามแนวทางของเกษตรประณีต โดยโรงเรียนมอบหมาย ให้ครูทุกคนเป็นที่ปรึกษากิจกรรม ผู้เขียนในฐานะนักคณิตศาสตร์ศึกษา มองว่าคณิตศาสตร์มีบทบาทสำ�คัญยิ่งในการช่วยวางระบบวิธีคิดที่มี แบบแผน การคาดการณ์วางแผน การจัดการกับปัญหา และนำ�ไปสู่ การตัดสินใจที่เหมาะสม ตลอดจนเป็นเครื่องมือช่วยเสริมกระบวนการ ทำ�งานให้มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีแนวคิดที่จะ ออกแบบกิจกรรมบูรณาการคณิตศาสตร์กับการทำ�เกษตรสู่การเป็น Smart Farmer โดยกำ�หนดเป็นผังมโนทัศน์ของกิจกรรม ดังแผนภาพ 2 ระยะที่ 1 รู้จักพื้นที่ (Area based research) กิจกรรมที่ 1 เวลาไหนควรปลูก การเลือกช่วงเวลา(ฤดูกาล)ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิต ปริมาณมากและมีราคาสูง โดยเก็บข้อมูลสถิติผลผลิต ในช่วงเวลาต่าง ๆ และนำ�ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หา ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก กิจกรรมที่ 2 เขาปลูกกันอย่างไร ศึกษาข้อมูลสภาพดิน สายพันธุ์มะระท้องถิ่น การจัดการ ปริมาณน้ำ� วิธีการดูแล รวมถึงวัสดุที่ต้องใช้ในการทำ�เกษตร เพื่อประมาณการต้นทุน ระยะที่ 2 เรียนรู้วางแผน (Coding for Farm) กิจกรรมที่ 3 ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า การหาพื้นที่ของแปลงเกษตร คำ�นวณพื้นที่ก่อนปลูก เพื่อจำ�กัดทิศทางการเติบโตของพืช ใช้พื้นที่ว่างที่เหลือ ให้คุ้มค่าเหมาะสม และประหยัดต้นทุนวัสดุที่ใช้ทำ�แปลง กิจกรรมที่ 4 จัดการแปลงปลูก การคำ�นวณการเว้นระยะห่างและวางแผนการปลูก ใช้ความรู้คณิตศาสตร์เรื่องการวัด จำ�นวนเต็ม และ ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) มาคำ�นวณหาระยะห่าง ที่เหมาะสมของหลุมปลูก แล้วดำ�เนินการปลูก STI: Smart Intensive Farmimg I n n o v a t i o n T e c h n o l o g y S c i e n c e ร ว ม แ ล ก เ ป ลี่ ย น เ รี ย น รู ข ย า ย ผ ล S h a r i n g รู จั ก พื้ น ที่ A r e a b a s e d r e s e a r c h ร ว บ ร ว ม พั ฒ น า D e v e l o p m e n t ริ เ ริ่ ม ป ฏิ บั ติ ก า ร I m p l e m e n t a t i o n เ รี ย น รู ว า ง แ ผ น C o d i n g f o r F a r m
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5