นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242
ปีที่ 51 ฉบับที่ 242 พฤษภาคม - มิถุนายน 2566 47 ดัชนีความร้อนหรืออุณหภูมิที่มนุษย์รู้สึกได้ (Feels Like) เป็นอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนมากน้อยเพียงใด (Steadman, 1979) เป็นค่าสำ�หรับพิจารณาความสบายทางกายของมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกับอุณหภูมิที่วัดได้จริง ปัจจัยที่ทำ�ให้เราร้อนไม่ได้มี เพียงแค่อุณหภูมิอากาศ แต่ “ความชื้นสัมพัทธ์” ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ ทำ�ให้เรารู้สึกร้อนมากขึ้น โดยในช่วงเปลี่ยนฤดูร้อนสำ�หรับประเทศไทย ความชื้นสัมพัทธ์อาจสูงขึ้นถึง 80 - 90% แต่ฤดูหนาวอาจจะอยู่ที่ 30 - 40% ทำ�ให้ในฤดูร้อนจึงรู้สึกร้อนอบอ้าวและร่างกายเหนียวเหนอะหนะ (ศูนย์พัฒนา การสื่อสารด้านภัยพิบัติ, 2565) อากาศที่มีความชื้นสูงจึงทำ�ให้เรารู้สึก ร้อนกว่าอุณหภูมิที่วัดได้ เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิอากาศสูงร่างกายร้อนขึ้น ร่างกายจะเริ่มขับเหงื่อออกเพื่อระบายความร้อนและปรับให้ร่างกายมี อุณหภูมิปกติ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ที่เหมาะแก่การทำ�งานของอวัยวะ ต่างๆ แต่หากเหงื่อออกแล้วไม่สามารถระเหยได้เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ อากาศสูงจะทำ�ให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้เราจึงรู้สึกร้อนขึ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการที่เราจะรู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิจริงที่วัดได้ เนื่องจากความร้อนของอากาศมีความสัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์ด้วย นอกจากนี้ ลมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยระบายความร้อนอีกด้วย ค่าดัชนีความร้อนคำ�นวณมาจากค่าอุณหภูมิอากาศและค่า ความชื้นสัมพัทธ์ที่วัดได้จริง นำ�มาประยุกต์ใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่ร่างกาย จะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้ ซึ่งค่าดัชนีความร้อนมีความสัมพันธ์ โดยตรงกับอุณหภูมิของอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ โดยเมื่ออุณหภูมิ อากาศและความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น ดัชนีความร้อนก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่หาก อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ลดลง ดัชนีความร้อนก็ลดลงด้วย ดังตาราง 1 ภาพ 1 คาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ในวันที่ 21 - 23 เมษายน 2566 ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา (2566) ตาราง 1 ดัชนีความร้อน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5