นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242

ปีที่ 51 ฉบับที่ 242 พฤษภาคม - มิถุนายน 2566 49 ดัชนีความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคลมร้อน เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโรคที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำ�ให้อุณหภูมิ ในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส หากร่างกายไม่สามารถปรับตัว กับความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างภายในและภายนอกร่างกายได้จะทำ�ให้ เกิดการเจ็บป่วย ซึ่งสัญญาณสำ�คัญคือ ไม่มีเหงื่อออก ร่างกายจะไม่สามารถ ระบายความร้อนได้ทำ�ให้ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำ�มาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน มีความผิดปกติของระบบ ประสาท เช่น ชัก เพ้อ เดินเซ พูดจาสับสน (ดังภาพ 5) ซึ่งต่างจาก การเพลียจากแดดทั่วๆ ไปที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าว จะต้องหยุดพักทันที ภาพ 5 อาการของผู้ป่วยโรคลมร้อน ภาพ 6 วิธีปฐมพยาบาลโรคลมร้อนเบื้องต้น ที่มา: ปรับปรุงจาก โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (2560) ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคลมร้อน (ที่มา: พร้อมพรรณ พฤกษากร, 2564) ได้แก่ เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) ผู้ที่ออกแรงมาก ในขณะทำ�งานหรือออกกำ�ลังกายกลางแจ้ง ผู้ที่มีน้ำ�หนักตัวมาก ผู้ที่ไม่คุ้นเคย กับอากาศร้อน และผู้ที่ทานยาบางชนิด ได้แก่ ยาลดความดันโลหิต บางประเภท ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคจิตเวช ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำ�มูก ยาระบาย ยาบ้า โคเคน และผู้ที่มีโรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน หรือเคยเป็น โรคลมแดดมาก่อน วิธีปฐมพยาบาลโรคลมร้อนเบื้องต้น (ดังภาพ 6) นำ�ผู้ป่วยเข้าที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำ�เย็นหรือน้ำ�แข็ง ประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบาย ความร้อน เทน้ำ�เย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำ�ลง โดยเร็วที่สุด ดื่มน้ำ�เปล่า และน้ำ�เกลือแร่ให้มากๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ� และป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำ�ส่ง โรงพยาบาลทันที

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5