นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242

ปีที่ 51 ฉบับที่ 242 พฤษภาคม - มิถุนายน 2566 51 การเรียนรู้ตามแนวคิด กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในบริบทชั้นเรียนปฐมวัย สมกมล บุญมี ปิยะนุช สังคมกำ�แหง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายอนุบาลศึกษา รศ.ดร.ศศิเทพ ปิติพรเทพิน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.วชิร ศรีคุ้ม รักษาการผู้อำ�นวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร สสวท. e-mail: wsrik@ipst.ac.th Design Thinking หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาตลอดจนพัฒนาแนวคิด ใหม่ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่มุ่งเน้นมุมมองของผู้ใช้ (user-centered) โดยเน้นการ สร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรมให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ต่อผู้ใช้งานและสถานการณ์ต่างๆ (ปัทมาภรณ์ วิทูร และ อรพรรณ บุตรกตัญญู, 2565) การคิดเชิงออกแบบเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ จากการปฏิบัติ ทำ�ให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่มีความหมาย โดยเรียนรู้และให้ความสำ�คัญกับการใช้งานและความเป็นอยู่ ของผู้ใช้งานนวัตกรรมนั้น จะทำ�ให้เรามองเห็นวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทำ�ให้เรา รู้จักมองปัญหาตลอดจนโจทย์ของการทำ�งานต่างๆ ได้รอบทิศและรอบคอบขึ้น ฝึกให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีลำ�ดับการบริหารจัดการที่ดีในการนำ�ไปใช้กับการปฎิบัติงาน ภาพจาก : https://www.mygreatlearning.com/blog/how-is-design-thinking-helping-professionals-to-excel/

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5