นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242
52 นิตยสาร สสวท. ก ระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นได้มากกว่าแค่การคิดค้น สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้ออกมาเป็นสิ่งของหรือชิ้นงาน ซึ่งจริงๆ แล้ว กระบวนการนี้สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งด้านการศึกษาที่มีผลงานวิจัยมาแล้วว่า ระบวนการคิดเชิงออกแบบสามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ และกระตุ้นความตื่นตัวในด้านการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Alertness) ให้กับผู้เรียนอีกด้วย (Pratomo et al., 2021) ดังนั้น ผู้เขียน ได้นำ�แนวคิดดังกล่าวมาบูรณาการในการจัดประสบการณ์เรียนรู้และขอ นำ�เสนอตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ระดับ อนุบาลศึกษาปีที่ 2 สถานการณ์ปัญหาที่ต้องศึกษาและแก้ไข ได้แก่ ปัญหาสภาพการจราจรและที่จอดรถ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในโรงเรียน ผู้เขียน เลือกใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบของ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford d.school, 2010) ซึ่งประกอบไปด้วย การจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เข้าใจปัญหา (Empathize) ขั้นที่ 2 ระบุความต้องการ (Define) ขั้นที่ 3 นำ�เสนอแนวทางแก้ปัญหา (Ideate) ขั้นที่ 4 สร้างผลงาน (Prototype) และขั้นที่ 5 ทดสอบ (Test) ภาพ 1 กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Stanford d.school, 2010) ภาพ 2 (ก) นักเรียนบันทึกการสำ�รวจที่จอดรถ (ข) และ (ค) การสัมภาษณ์ผู้ใช้ที่จอดรถ ขั้นที่ 1 เข้าใจปัญหา (Empathize) ขั้นตอนนี้เป็นการสร้างความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง เป็นขั้นตอนแรก ที่สำ�คัญยิ่งในกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพราะเป็นการทำ�ความเข้าใจใน ปัญหาอย่างลึกซึ้งปราศจากการตัดสินความคิด เริ่มจากครูนำ�สถานการณ์ ปัญหาสภาพการจราจรและที่จอดรถของโรงเรียนซึ่งเป็นปัญหาที่พบใน ชีวิตประจำ�วันมาเป็นประเด็นปัญหา ชักชวน และกระตุ้นให้นักเรียนร่วมกัน แสดงความคิดเห็นโดยใช้คำ�ถามปลายเปิดว่า “นักเรียนมีความคิดเห็นและ มีความรู้สึกเกี่ยวกับการจราจรและที่จอดรถของโรงเรียนอย่างไร” เพื่อสร้าง ความเข้าใจในปัญหามากยิ่งขึ้น ครูนำ�นักเรียนลงพื้นที่สำ�รวจ สังเกตที่จอดรถ บริเวณด้านหน้าและด้านหลังโรงเรียน ครูกระตุ้นให้นักเรียนสังเกตที่จอดรถ ช่องจอดรถมีลักษณะอย่างไรและมีจำ�นวนเท่าไร นักเรียนคิดว่าที่จอดรถ มีจำ�นวนเพียงพอกับความต้องการหรือไม่ นอกจากนี้ ครูมอบหมายภารกิจ ให้นักเรียนไปสัมภาษณ์ผู้ใช้ที่จอดรถ ได้แก่ ผู้ปกครอง ครู บุคลากร และ นักเรียนห้องอื่นๆ เพื่อทำ�ความเข้าใจปัญหา ความต้องการ และทัศนคติ ของกลุ่มผู้ใช้อย่างลึกซึ้ง ดังภาพ 2 และ 3 (ก) (ข) (ค)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5