นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242
54 นิตยสาร สสวท. Pratomo, L & Siswandari, C & Wardani, D. K. (2021). The Effectiveness of Design Thinking in Improving Student Creativity Skills and Entrepreneurial Alertness. International Journal of Instruction, 14 (4): 695-712. doi.org/10.29333/iji.2021.14440. The Standford D.school Bootcamp Bootleg. (HPI). (2010). D.school bootcamp bootleg. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2566, จาก https:// dschool.stanford.edu/resources/design-thinking-bootleg. Yalcin, V. (2022). Design Thinking Model in Early Childhood Education. International Journal of Psychology and Educational Studies, 9 (1): 196-210. ปัทมาภรณ์ วิทูร และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2565). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการสตรีมศึกษา เพื่อพัฒนาการคิดเชิงออกแบบของเด็กปฐมวัย. JED วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 17 (1): 2022. บรรณานุกรม ภาพ 5 (ก) การออกแบบลานจอดรถ (ข) สร้างชิ้นงานตามแบบ ภาพ 6 (ก) การออกแบบอาคารจอดรถ (ข) สร้างชิ้นงานตามแบบ ขั้นที่ 5 ทดสอบ (Test) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นของการทดสอบ ทำ�ความเข้าใจชิ้นงาน และแสดง บทบาทสมมติในฝั่งของผู้ใช้งาน นักเรียนนำ�ชิ้นงานที่ประดิษฐ์มาทดสอบว่า ตนเองสามารถทำ�ตามแบบที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรค ในการสร้างชิ้นงานหรือไม่ และนักเรียนมีวิธีแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร รวมถึง อธิบายชิ้นงานของกลุ่มตนเองตามความเข้าใจ ในขั้นตอนนี้สามารถ ปรับปรุงต้นแบบ พัฒนา และหาทางการแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น พบว่านักเรียน ส่วนใหญ่สามารถสร้างผลงานตามที่ได้ออกแบบไว้ แต่มีนักเรียน 2 กลุ่ม เมื่อสร้างและทดสอบชิ้นงานได้มีการแก้ไขปรับเปลี่ยน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักเรียนออกแบบที่จอดรถ 8 ชั้นโดยใช้ตัวต่อพลาสติก บล็อกไม้ และ มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์บนชั้นดาดฟ้า แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ทดสอบชิ้นงาน เกิดปัญหาว่าตัวอาคารไม่สามารถรับน้ำ�หนักได้ ทำ�ให้ชั้นบนร่วงถล่มลงมา นักเรียนวิเคราะห์ว่าอาคารสูงเกินไปทำ�ให้รับน้ำ�หนักไม่ได้ จึงปรับปรุง แก้ไขเป็น 7 ชั้น แล้วทำ�การทดสอบอีกครั้งพบว่าอาคารจอดรถที่มีความสูง 7 ชั้นมีความมั่นคงและแข็งแรงกว่า ส่วนกลุ่มที่ 2 ออกแบบและสร้างอาคาร จอดรถ 9 ชั้น แต่ไม่สามารถทำ�ทางลาดขึ้นลงของรถได้จึงคิดหาวิธีการ ปรับเปลี่ยนเพิ่มลิฟท์ยกรถขึ้นลงแทน เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ นำ�เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลงานการสร้างอาคารจอดรถต้นแบบ แก่นักเรียนห้องอื่นๆ ครู และผู้ปกครองผ่านกิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) จากตัวอย่างกิจกรรมจะเห็นได้ว่า ระหว่างการทำ�กิจกรรมใน ทุกขั้นตอน นักเรียนได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ทำ�ให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงและนำ�เสนอแนวคิดและแก้ปัญหาที่เผชิญ ในชีวิตประจำ�วันได้ในมุมมองที่หลากหลายอย่างสร้างสรรค์ นักเรียนได้ ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีอย่างลึกซึ้ง ได้พัฒนาทัศนคติในการเอาใจใส่ผู้อื่น สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง จนทำ�ให้ ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่และได้ฝึกทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ (ก) (ก) (ข) (ข)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5