นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242

ปีที่ 51 ฉบับที่ 242 พฤษภาคม - มิถุนายน 2566 59 QUIZ แ ต่แค่คำ�พูดของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หรือจะมาสู้กับ “พลังแห่งความอยากรู้อยากเห็น อยากพิสูจน์” ของนักวิทยาศาสตร์และนักธุรกิจทั่วโลกได้อย่างไร และทีมวิจัยไทยเองก็เข้าร่วมสมรภูมิแห่งการแข่งขันใน การทำ�วิจัยในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน โดยได้ประกาศผลของ การทดลองในสัตว์ทดลองไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2564 ที่ สามารถทำ�ให้หนูทดลองอายุ 30 เดือน มีเซลล์ชราในตับ ลดลง เมื่อเทียบกับหนูทดลองอายุ 7 เดือน และ 30 เดือน ที่ไม่ได้รับสารที่ใช้ในการทดสอบ โดยคุณสามารถ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก แพทย์จุฬาฯ วิจัยยาอายุวัฒนะ สำ�เร็จ! โมเลกุลมณีแดงยาต้านแก่ของผู้สูงวัย - จุฬาลงกรณ ์ มหาวิทยาลัย (chula.ac.th) และตอนนี้กำ�ลังทดสอบ ในลิง โดยทีมวิจัยจากจุฬาฯ คาดว่า น่าจะสามารถทดลอง ประสิทธิภาพของสารชนิดนี้ในมนุษย์ได้ภายในไตรมาส ที่ 2 - 3 ของปี พ.ศ. 2566 นี้ หลังจากได้ข้อสรุปของ ผลการทดลองในลิงก่อน ทางจุฬาฯ เรียกผลิตภัณฑ์ที่คาดว่า จะวางจำ�หน่ายต่อไปในอนาคตว่า RED-GEMs (ย่อมาจาก REjuvenating DNA by GEnomic stability Molecules) ภาษาไทยจะเรียกว่า โมเลกุลมณีแดง ซึ่งเป็นนวัตกรรม ต้านเซลล์ชรา เรามาดูงานวิจัยของประเทศอื่นๆ กันบ้าง “Senolytic Drugs” เป็นยาที่สามารถทำ�ลายเซลล์ชรา (ซึ่งเป็นเซลล์ที่ไปมีผลทำ�ให้เกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ อื่นๆ) แต่จะไม่ทำ�ลายเซลล์ปกติที่ยังแข็งแรงดีอยู่ เป็นการ ทำ�ลายแบบจำ�เพาะเจาะจงเท่านั้น และจากความรู้พื้นฐาน ที่เรารู้กันก็คือ เมื่อสิ่งมีชีวิตมีอายุมากขึ้นก็จะมีเซลล์ชรา (Senescent Cell) เพิ่มมากขึ้น และเซลล์ชรานี้จะดื้อ ต่อการเกิดการตายของเซลล์ที่เรียกว่า Apoptosis ซึ่ง เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์ที่ถูกกำ�หนดไว้ (Programmed Cell Death) นั่นคือ เซลล์ชราจะไม่ตาย แต่จะสะสมเพิ่มมากขึ้น สร้างสารต่างๆ ออกมา สร้าง ความเสียหายในเซลล์อื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง หรือเซลล์อื่นๆ ในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ เนื้อเยื่อและอวัยวะนั้นๆ ก็จะ ภาพ 1 แสดงการทำ�งานของ Senolytic drugs ที่ช่วยลดการสะสมชองเซลล์ชรา (Senescent Cell) ในเนื้อเยื่อ ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อสิ่งมีชีวิตมีอายุมากขึ้นก็จะมีเซลล์ชราเพิ่มสะสมในเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อที่มีเซลล์ปกติ --> เนื้อเยื่อที่มีเซลล์ชราเกิดขึ้น --> ให้ยา senolytics --> เซลล์ชราถูกทำ�ลาย เสื่อมสภาพลง มีการทำ�งานที่ผิดปกติไปจากเดิม และสุดท้ายก็จะแสดงออกมาให้เห็นผ่าน สภาพของการเกิดเป็นโรคต่างๆ ตามมามากมาย และสภาพผิดปกติอันเกิดจากเซลล์ชรา นักวิทยาศาสตร์พบว่า มันจะเกิดแบบก้าวกระโดดเหมือนกันที่เรามองเห็นคนที่อายุมากๆ ป่วย สภาพก่อนป่วย ตอนป่วย และหลังหายป่วยใหม่ๆ จะมีสภาพที่เรียกว่า “แก่กระชากวัย” กันเลยทีเดียว เพราะอะไรนะหรือ ก็เพราะว่าสารที่เซลล์ชราสร้างที่อวัยวะหนึ่งมันสามารถ แพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือดไปส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน การแก่ชราของเซลล์ถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 โดย Leonard Hayflick และ Paul Moorhead จาก Wistar Institute in Philadelphia, Pennsylvania ที่ศึกษาและ ค้นพบว่า เซลล์ของมนุษย์ที่ถูกนำ�มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจะไม่สามารถแบ่งเซลล์ได้มากไปกว่า 55 ครั้ง และต่อมาเมื่อมีการศึกษาเพิ่มขึ้นจึงพบว่า มันเกี่ยวข้องกับการหดสั้นของส่วนปลาย ของโครโมโซม (ที่เรียกว่า เทโลเมียร์ หรือ Telomere) ซึ่งเป็นส่วนที่มีลำ�ดับเบสซ้ำ�ๆ กันและ ไม่เกี่ยวข้องกับยีน นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า น่าจะทำ�หน้าที่ในการป้องกันการเสียหาย ของยีนในขณะที่มีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้น และในแต่ละครั้งที่เกิดการแบ่งเซลล์ ส่วนปลายของ โครโมโซมนี้ก็จะหดสั้นลงไปเรื่อยๆ สวัสดีผู้อ่านที่รักและเคารพ ฉบับต้อนรับช่วงเวลาของการเปิดเทอมใหม่ภาคการศึกษาใหม่ ต่ายจะมาชวนคุณๆ คุยกันถึงเรื่อง “ความเป็นอมตะ” ซึ่งต่ายเชื่อว่าแนวคิดนี้ไม่ว่าจะ เด็กหรือผู้ใหญ่จะต้องเคยเห็นและรับรู้มาบ้างแล้วจากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือการ์ตูน ละคร ภาพยนตร์ และการปรากฎเผยแพร่ในข่าวหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น “ขอให้ สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวหมื่นๆ ปี” ในขณะเดียวกัน ก็จะมีคำ�ถามเกิดขึ้นกับผู้คน ในสังคมอีกกลุ่มเช่นกันว่าจะอยู่กันไปทำ�อะไรกันนานๆ ถ้าไม่มีคนตายปัญหาการ ขาดแคลนอาหาร ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย ก็จะเกิดขึ้นตามมามากมาย ธรรมชาติของโลกใบนี้ถูกกำ�หนดและจัดสมดุลมาให้อย่าง ลงตัวแล้ว

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5