นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 242

60 นิตยสาร สสวท. จริงๆ แล้วยังมีการทดลองและการทดสอบเกี่ยวกับยาต้านการแก่ชรา อีกมากมายในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากถ้าหากทำ�สำ�เร็จ มันจะช่วยสร้างรายได้ อย่างมหาศาลให้กับทีมวิจัยและประเทศชาติ ระหว่างที่รอผลวิจัยอยู่หากคุณต้องการ เตรียมพร้อมสำ�หรับเรื่องนี้ ต่ายขอบอกเลยว่าการออกกำ�ลังกายก็สามารถช่วยลด เซลล์ชราออกจากเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราได้ ซึ่งเรื่องนี้วิทยาศาสตร์ ก็ได้พิสูจน์แล้วด้วยเช่นกัน แต่แบบที่คุณและต่ายรู้ก็คือ เรารู้ว่าการออกกำ�ลังกายสำ�คัญ เท่ากับการกินอาหาร แต่การเริ่มต้นทำ�นั้นยาก ต่ายขอเป็นกำ�ลังใจให้คุณเริ่มต้นทำ�ได้ละกัน และเช่นเคย หากคุณสนใจหรืออยากให้ต่ายติดตามเรื่องราวอะไรเป็นพิเศษสามารถเขียน email ส่งมาบอกกล่าวหรือมาคุยกับต่ายได้เหมือนเดิมที่ funny_rabbit@live.co.uk พบกันฉบับหน้าจ้าิ ต อายุไม่ใช่อุปสรรค แต่ข้อจำ�กัดที่คุณๆ กำ�หนดไว้ ในใจต่างหากคืออุปสรรค ต่าย แสนซน QUIZ Kirkland, J. L., & Tchkonia, T. (2020). Senolytic drugs: from discovery to translation. Journal of internal medicine, 288 (5): 518-536. เมื่อเซลล์แบ่งตัวจนไม่เหลือ Telomere แล้วก็อาจจะตาย หรือกลายเป็นเซลล์ชราซึ่งไม่ตายและไม่สามารถแบ่งเซลล์ได้ด้วยเช่นกัน แต่ถ้าจะพูดว่าเซลล์ชราคือเซลล์ที่ไม่เหลือส่วนของ Telomere แล้วก็ไม่ใช่ อีกเช่นกัน เพราะมีสาเหตุอื่นๆ อีก ที่ทำ�ให้เกิดเซลล์ชรา เช่น ความเสียหาย ของ DNA จากสาเหตุต่างๆ อย่าง UV และสารเคมีจากการทำ�งาน ผิดปกติของไมโทคอนเดรีย (Mitochondria Dysfunction) การได้รับบาดเจ็บ ทางร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ภาพ 2 ภาพแสดงส่วนปลายของโครโมโซม (ที่เรียกว่า Telomere) ซึ่งมีลำ�ดับเบสซ้ำ�ๆ กัน และจะหดสั้นลงทุกครั้งที่เกิดการแบ่งเซลล์ ที่มา : Cell Process: What role do the telomeres play in senescence? (cellsignal.com) จากความรู้ที่ว่า เซลล์ชราจะพบในสิ่งมีชีวิตที่อายุมาก ในอวัยวะต่างๆ ที่แสดงลักษณะของโรคให้ปรากฎขึ้น และพบว่าในหนูทดลองที่ควบคุม ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากอาหารจะมีเซลล์ชราน้อยกว่า และมีอายุยืนยาวกว่า หนูทดลองที่กินอาหารปริมาณมากๆ จึงทำ�ให้เกิดสมมติฐานว่า “ถ้ากำ�จัด เซลล์ชราออกจากร่างกายได้ก็จะทำ�ให้เรามีอายุยืนยาวเพิ่มมากขึ้น” ทำ�ให้ มีความพยายามในการหาสารต่างๆ ที่ออกฤทธิ์เป็นยากำ�จัดเซลล์ชรา “Senolytic Drugs” ดังตาราง ปีที่พบหรือทดลอง ค.ศ. 2015 ค.ศ. 2016 ค.ศ. 2017 นำ�ยารักษามะเร็งที่ชื่อ Dasatinib และสารสกัดจากพืชที่ชื่อ Quercetin มาทดสอบ พบว่าทั้งสองชนิดสามารถทำ�ลาย เซลล์ชราได้ และเมื่อนำ�มาใช้ร่วมกันจะให้ผลในการทำ�ลายเซลล์ชราได้ดีกว่า ทดสอบยา Dasatinib กับ Quercetin ในมนุษย์ที่ป่วยเป็นโรคปอดชนิดหายาก (ที่เรียกว่า Idiopathic Pulmonary Fibrosis - IPF) จำ�นวน 14 คน โดยให้ยาผสมทั้งหมด 9 โดส หรือ ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 3 อาทิตย์ หลังจาก ให้ยาครั้งสุดท้ายแล้ว 5 วัน พบว่า ผู้ป่วยสามารถเดินได้ไกลขึ้น ไวขึ้น และลุกขึ้นจากเก้าอี้ได้ง่ายกว่าเดิม แต่ การทำ�งานของปอดยังคงไม่ดีขึ้น แม้ว่าการทดลองนี้จะไม่ได้ช่วยทำ�ให้อายุยืนยาวขึ้น แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า สภาพของ โรคต่างๆ เกี่ยวข้องกับเซลล์ชราและเมื่อเซลล์ชราลดลงอาการป่วยก็จะดีขึ้น นำ�ยารักษามะเร็งที่ชื่อ Navitoclax และสารสกัดจากพืชที่ชื่อ Fisetin มาใช้ร่วมกันพบว่า ทำ�ให้มีประสิทธิภาพในการ ทำ�ลายเซลล์ชราเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับการใช้สารเพียงชนิดเดียว สารที่ออกฤทธิ์เป็น “Senolytic Drugs” บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5