นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 243

ปีที่ 51 ฉบับที่ 243 กรกฎาคม - สิงหาคม 2566 47 ภาพ 4 แสดงโปรแกรมเสริมการเรียนรู้กระแสไฟฟ้าผ่านเสียงเปียโนด้วยบอร์ด Makey Makey ภาพ 4.1 ภาพ 4.2 บ อร์ด Makey Makey เป็นผลงานวิจัยที่ถูกเรียกขานว่า “ชุดสิ่งประดิษฐ์แห่งศตวรรษที่ 21 สำ�หรับทุกคน” โดย ทีมวิจัย Jay Silver และ Eric Rosenbaum จาก Lifelong Kindergarten Groupใน MIT Media Lab ของ สถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) (Marin-Marin, J., 2020) พัฒนาขึ้นขณะที่เป็นนักศึกษาปริญญาเอก จากภาพ 1 แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ต่างๆ ใน Makey Makey ประกอบไปด้วยสายไฟคลิปปากจระเข้ สายยูเอสบี และสายไฟ (Connector Wires) ชื่อ Makey Makey มาจากหลักการทำ�งานของตัวบอร์ด คือ Make + Key เมื่อบอร์ด Makey Makey ถูกเชื่อมต่อ ด้วยสายยูเอสบี คอมพิวเตอร์จะเชื่อมการทำ�งานของ Makey Makey เสมือนเป็นคีย์บอร์ดหรือเมาส์ ซึ่งใช้หลักการทำ�งานของ วงจรไฟฟ้านั่นเอง จึงสามารถประยุกต์บอร์ด Makey Makey เป็นสื่อการเรียนรู้ตัวนำ�ไฟฟ้า (Conductor) ฉนวนไฟฟ้า (Insulator) และกระแสไฟฟ้า (Electric Current) ดังแสดงในภาพ 3 จะเห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้าจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหรือ เสมือนแหล่งกำ�เนิดไฟฟ้าเดินทางผ่านสายยูเอสบีสู่บอร์ด Makey Makey และเดินทางผ่านสายไฟจากส่วนเชื่อมต่อกับตัวนำ�ไฟฟ้า ดังภาพ 2 ไปสู่ตัวนำ�ไฟฟ้าต่างๆ จากนั้นกระแสไฟฟ้าเดินทางต่อผ่านสายดินสู่บอร์ด Makey Makey และกลับสู่แหล่งพลังงาน เรียกรูปแบบการเดินทางของกระแสไฟฟ้านี้ว่าวงจรปิด (วงจรที่มีการไหลของกระแสไฟฟ้าครบวงจร) ในทางตรงกันข้าม วงจรเปิด จะเกิดขึ้นเมื่อการไหลของกระแสไฟฟ้าเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งตามภาพ 3 ไม่เชื่อมต่อกัน เช่น ตัวนำ�ไฟฟ้าที่เป็นคนไม่สัมผัส ผลแอปเปิลหรืออีกปลายของสายดินไม่เชื่อมต่อกับบอร์ด Makey Makey นอกจากนั้น ยังสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนรู้คุณสมบัติ ของตัวนำ�ไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าได้โดยเปลี่ยนวัตถุต่างๆ มาแทนที่แอปเปิล ดังภาพ 3 อาทิ เสื้อผ้า วัตถุที่เป็นโลหะ ขนมปัง ฟอยล์ห่ออาหาร นอกจากการทดลองทดสอบคุณสมบัติของตัวนำ�ไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าของวัตถุต่างๆ ยังสามารถทำ�ให้การเรียนรู้ สนุกสนานขึ้นด้วยการเชื่อมต่อกับโปรแกรมออนไลน์เสริมการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น 1) โปรแกรมเสริมการเรียนรู้วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายที่ https://apps.makeymakey.com/play/#is%20it%20conductive และเล่นโดยต่อสายไฟคลิปปากจระเข้กับส่วนเชื่อมต่อกับ ตัวนำ�ไฟฟ้าบนบอร์ด Makey Makey ช่อง “SPACE” กับวัตถุตัวนำ�ไฟฟ้า และต่อสายไฟคลิปปากจระเข้อีก 1 สายกับส่วนเชื่อมต่อ สายดิน ให้ผู้ทดสอบถือปลายสายนี้ไว้ระหว่างแตะกับวัตถุตัวนำ�ไฟฟ้าและดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผ่านโปรแกรมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ 2) โปรแกรมเสริมการเรียนรู้กระแสไฟฟ้าผ่านเสียงเปียโนที่ https://apps.makeymakey.com/piano/ ดังแสดงในภาพ 4.1 และ เล่นโดยต่อสายไฟคลิปปากจระเข้กับส่วนเชื่อมต่อกับตัวนำ�ไฟฟ้าบนบอร์ด Makey Makey ทุกช่องกับวัตถุตัวนำ�ไฟฟ้าต่างๆ เช่น ผลไม้ตามภาพ 4.2 และต่อสายไฟคลิปปากจระเข้อีก 1 สายกับส่วนเชื่อมต่อสายดิน ให้ผู้ทดสอบถือปลายสายนี้ไว้ระหว่างแตะ ผลไม้ต่างๆ จะทำ�ให้เกิดเสียงดนตรีที่มีโน้ตแตกต่างกันในผลไม้แต่ละลูก จากการทดสอบในตัวอย่างที่ 1) และ 2) แสดงให้เห็นการไหลเวียน ของกระแสไฟฟ้าแบบวงจรปิด และยังสามารถทดสอบอีกหลายกิจกรรมผ่านโปรแกรมออนไลน์ในตัวอย่างที่ 3) ที่ https:// makeymakey.com/pages/plug-and-play-makey-makey-apps อีกด้วย ภาพ 2 แสดงรายละเอียดการเชื่อมต่อกับบอร์ด Makey Makey และ ภาพ 3 แสดงรายละเอียดการเชื่อมต่อระหว่างบอร์ด Makey Makey กับวัตถุต่างๆ (ประยุกต์ข้อมูลจาก Ryanalexanderhunt, 2014)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5