นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 243
ปีที่ 51 ฉบับที่ 243 กรกฎาคม - สิงหาคม 2566 59 QUIZ ทั นทีที่ญี่ปุ่น “กดปุ่ม” ปล่อยน้ำ�จากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ลงสู่ทะเล รัฐบาลจีนและไต้หวัน ซึ่งเป็นห่วงสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ได้สั่งห้ามนำ�เข้าอาหารทะเลทุกชนิดจากญี่ปุ่นในทันที และใน วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566 รัฐบาลไต้หวันและเกาหลีใต้ก็ได้ประกาศ ห้ามนำ�เข้าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดที่มาจากจังหวัดฟุกุชิมะ ต่ายเชื่อว่าคุณต้องแปลกใจว่าทำ�ไมถึงต้องมีการสั่งห้ามนำ�เข้าอาหารทะเล ที่มาจากญี่ปุ่นด้วยเพราะเชื่อว่ารัฐบาลญี่ปุ่นไม่น่าจะปล่อยให้น้ำ�ที่ปนเปื้อน สารกัมมันตรังสีจนเป็นอันตรายออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน การที่หลาย ประเทศมีมาตรการที่เข้มงวดเกี่ยวกับการนำ�เข้าผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ จากญี่ปุ่น ก็เนื่องมาจากว่า…. ไต้หวันเป็นประเทศแรกๆ ที่ตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนของ สารกัมมันภาพรังสีในถั่วปากอ้า (Fava Beans) ที่นำ�เข้ามาจากญี่ปุ่น และ ต่อมาได้ตรวจพบการปนเปื้อนในหอยทะเลที่นำ�เข้ามาจากญี่ปุ่นด้วย จึง ตัดสินใจที่จะสั่งห้ามการนำ�เข้าอาหารทุกชนิดจากญี่ปุ่นทันที ขณะที่ เกาหลีใต้ได้สั่งห้ามผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดที่ผลิตจากจังหวัดฟุกุชิมะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และได้ขยายขอบเขตเพิ่มเติมมาที่ จังหวัดกุมมะ จังหวัด อิบารากิ และจังหวัดโทจิงิ อีกด้วย และดูเหมือนว่าคนเกาหลีใต้จะวิตกกังวล เกี่ยวกับการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในอาหารทะเลกันมาก แม้ว่ารัฐบาล จะมีมาตรการต่างๆ มากมาย รวมถึงการที่ประธานาธิบดี ยุน ซ็อก ยอล มากินอาหารทะเลโชว์ผ่านสื่อต่างๆ และแสดงผลตรวจทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยของอาหารทะเลที่มีแหล่งที่มาจากทะเลของ เกาหลีใต้แล้วก็ตาม คนเกาหลีใต้ก็ยังมีความกังวล โดยจากการสำ�รวจ ความคิดเห็นคนในเกาหลีใต้ พบว่า 92.4% จะลดการกินอาหารทะเลในช่วงนี้ และแน่นอน สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อการค้าขายของตลาดอาหารทะเล ร้านอาหารต่างๆ และตลาดการค้าเกลือ (คนเกาหลีใต้ใช้เกลือทำ�กิมจิกัน ทุกครัวเรือน) สิงคโปร์ก็เคยตรวจพบการปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสี จากอาหาร 4 ชนิด ที่นำ�เข้ามาจากญี่ปุ่น คือ เมล็ดผักชีฝรั่งญี่ปุ่น ภาพ 1 แผนที่แสดงตำ�แหน่งของจังหวัดฟุกุชิมะที่มี การปล่อยน้ำ�จากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ (Fukushima Daiichi Nuclear Power Plant) ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และจังหวัดกุมมะ (Gunma) จังหวัดอิบารากิ (Ibaraki) จังหวัดโทจิงิ (Tochigi) ที่อยู่ทางตอนใต้ลงมา สวัสดีผู้อ่านที่รักและเคารพทุกท่าน ฉบับนี้ต่ายมีข่าวที่คิดว่าคุณและต่ายน่าจะได้รับผลกระทบ โดยตรงมากที่สุดมาเล่าสู่กันฟัง ข่าวที่ว่านั้นก็คือ “ญี่ปุ่นปล่อยน้ำ�ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ที่ผ่านการบำ�บัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13:03 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งโรงงานแห่งนี้ได้ถูกทำ�ลายลง จากการเกิดแผ่นดินไหวตั้งแต่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 และถ้าหากคุณยังจำ�ได้ ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. 2529 มนุษยชาติก็ประสบอุบัติภัยจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl, Ukraine) (Mitsuba ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cryptotaenia Japonica ชื่อสามัญคือ Japanese Wild Parsley) ผักกาดก้านขาว หรือ นาโนะฮานะ หรือ เรพซีด ( Nanohana หรือ Rapeseed Plant) มิซูนา (Mizuna) หรือ มัสตาร์ดญี่ปุ่น ใบชิโสะ หรือใบโอบะ (Perilla Leaf) ซึ่งไม่เกี่ยวกับอาหารทะเลเลย ทำ�ให้ รัฐบาลสิงคโปร์ออกกฏระเบียบเพิ่มเติมว่า อาหารที่ส่งจากญี่ปุ่นต้องมี ใบรับรองบอกถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ ตั้งแต่พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2564 แล้ว และทางสิงคโปร์ก็ไม่ได้กังวลกับเรื่องนี้ เนื่องจากอาหาร ที่นำ�เข้ามาจากญี่ปุ่นมีสัดส่วนแค่ 1.5% ของอาหารที่นำ�เข้ามาจากต่างประเทศ ทั้งหมดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีระบบการตรวจสอบคุณภาพที่เคร่งครัด จากเอกสารรายงานวิจัย Lu, Y., Yuan, J., Du, D., Sun, B., & Yi, X. (2021). Monitoring long-term ecological impacts from release of Fukushima radiation water into ocean. Geography and Sustainability, 2(2), 95-98. ได้รายงานไว้ว่า สารกัมมันตภาพรังสีที่มีรายงาน การตรวจพบในสิ่งแวดล้อมหลักๆ ก็คือ 3H 14C 134Cs 137Cs 60Co 125Sb 90Sr 129I 99Tc 106Ru 238Pu โดยมีชื่อเรียกเรียงตามลำ�ดับ คือ Tritium มีค่าการสลายตัวลดลงครึ่งหนึ่ง (half-life) อยู่ที่ 12.43 ปี Carbon-14 มี half-life 5,730 ปี Caesium 134 มี half-life 2.06 ปี และ Caesium 137 มี half-life 30.17 ปี Cobalt 60 มี half-life 5.27 ปี Antimony 125 มี half-life 2.7 ปี Strontium 90 มี half-life 28.9 ปี Iodine 129 มี half-life มากที่สุดคือ 15.7 ล้านปี Technetium 99 มี half-life 211,000 ปี Ruthenium 106 มี half-life 371.5 วัน Plutonium 238 มี half-life 87.7 ปี โดยมีการตรวจพบสารกัมมันตรังสีต่างๆ ที่ผิวของพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ อาหารสัตว์ แพลงค์ตอนสัตว์ที่อาศัยในทะเล ปลาทะเลที่อาศัยใน ระดับความลึกระดับกลาง (Mesopelagic Fish) และสารกัมมันตภาพรังสี เหล่านี้ก็จะผ่านเข้าสู่สายใยอาหารของสิ่งมีชีวิตในทะเล และยิ่งสายใยอาหาร มีขนาดใหญ่มากเท่าใด ก็ยิ่งทำ�ให้เกิดการสะสมของสารกัมมันตภาพรังสี เพิ่มขึ้น สุดท้ายก็จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ที่เป็นผู้บริโภคอันดับสุดท้าย หาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5