นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 243

6 นิตยสาร สสวท. จ ากผลการประเมินของ PISA* ที่ดำ�เนินการโดย OECD** ซึ่ง ได้ประเมินนักเรียนที่มีอายุ 15 ปี ของประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วม โครงการ พบว่านักเรียนไทยมีสมรรถนะด้านการอ่านต่ำ�กว่าค่าเฉลี่ย ของนักเรียนในกลุ่มประเทศ OECD มาก นักเรียนไทยอายุ 15 ปี มากกว่า ร้อยละ 50 มีความสามารถในการอ่านต่ำ�กว่าระดับ 2 ซึ่ง PISA ได้ให้ ความหมายไว้ว่า ผู้ที่มีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านต่ำ�กว่า ระดับ 2 จะเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านการอ่านไม่เพียงพอที่จะใช้ ทั้งเพื่อ การศึกษาเรียนรู้ การดำ�รงชีวิต และการประกอบอาชีพ ผลจากการประเมิน ดังกล่าวบ่งชี้ว่าประเทศไทยจำ�เป็นต้องมีการปฏิรูปการสอนการอ่าน โดยเร่งด่วน วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิธีหนึ่งที่ผู้เขียนเชื่อว่าจะ สามารถใช้พัฒนาสมรรถนะด้านการจับใจความ การแปลความ การตีความ การขยายความ การวิเคราะห์ การประเมิน และการวิพากษ์ เรื่องที่อ่านได้ดี คือ ครูเลือกบทความหรืองานเขียนที่เหมาะสมมาให้นักเรียนอ่าน แล้วตั้งคำ�ถาม ให้นักเรียนได้ฝึกสมรรถนะดังกล่าว เมื่อนักเรียนได้อ่านบทความหรืองานเขียนที่กำ�หนดให้แล้ว ครูใช้ คำ�ถามที่เตรียมไว้ถามนักเรียน โดยให้นักเรียนตอบคำ�ถาม และอภิปรายกัน ในห้องเรียน โดยอาจให้นักเรียนตอบหรืออภิปรายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ที่สำ�คัญเมื่อให้นักเรียนคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งตอบแล้ว ครูต้องเปิดโอกาสและ กระตุ้นให้นักเรียนคนอื่นๆ หรือกลุ่มอื่นๆ แสดงความคิดเห็นว่า - นักเรียนเห็นด้วยกับคำ�ตอบของเพื่อนไหม เพราะเหตุใด - ใครมีคำ�ตอบอื่นที่ต่างไปจากนี้อีกไหม - นักเรียนคิดว่าเพื่อนใช้ข้อมูลตรงไหน/ส่วนไหนของเรื่องที่อ่าน ในการตอบคำ�ถามนี้ - ใครจะช่วยตกแต่งคำ�ตอบของเพื่อนให้ดีและชัดเจนมากขึ้น อีกไหม ฯลฯ บางคำ�ถามอาจมีคำ�ตอบที่เป็นไปได้มากกว่า 1 คำ�ตอบ ถ้า นักเรียนตอบแล้วสามารถให้เหตุผลที่เหมาะสมและสมเหตุสมผลก็ถือเป็น คำ�ตอบที่ยอมรับได้ บางคำ�ถามครูอาจสะท้อนให้นักเรียนเห็นสิ่งที่ได้ เรียนรู้จากการอ่านบทความหรืองานเขียน ผู้เขียนบทความอาจไม่ได้เขียนไว้ ในบทความหรืองานเขียนนั้นอย่างตรงไปตรงมา ผู้อ่านจำ�เป็นต้องสรุปความ ตีความ ขยายความด้วยตนเอง ในบางครั้งผู้อ่านจำ�เป็นต้องประเมิน ความเหมาะสม ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่มีอยู่ใน บทความหรืองานเขียนนั้นๆ รวมถึงการประเมินจุดประสงค์ของผู้เขียน บทความนั้นด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการอ่านที่กล่าวถึงข้างต้น เน้น ใช้วิธีให้ครูตั้งคำ�ถามแล้วให้นักเรียนตอบปากเปล่า และกระตุ้นให้นักเรียน คนอื่นแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายคำ�ตอบของเพื่อน โดยกิจกรรม ทั้งหมดทำ�ในชั่วโมงสอน ในการสอน นอกจากครูเป็นผู้ตั้งกระทู้คำ�ถามให้นักเรียนตอบแล้ว ครูควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้นักเรียนเป็นผู้ตั้งกระทู้คำ�ถามจากเรื่อง ที่อ่านให้เพื่อนนักเรียนตอบด้วยการตั้งกระทู้คำ�ถามดังกล่าวนักเรียนต้อง อ่านและวิเคราะห์บทความหรืองานเขียนนั้นโดยละเอียดจึงจะสามารถ ตั้งกระทู้คำ�ถามที่ดีได้ ครูอาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการให้นักเรียนตอบปากเปล่าเป็นให้ นักเรียนเขียนคำ�ตอบบนกระดาษหรือบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต ของนักเรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม แล้วครูเลือกคำ�ตอบของ นักเรียนบางคนหรือบางกลุ่มมาแสดงบนจอของห้องเรียนหรือเขียนบน กระดานดำ� แล้วกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายคำ�ตอบ เหล่านั้นของเพื่อน ในการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอีกวิธีหนึ่งคือ ครู มอบบทความหรืองานเขียนพร้อมคำ�ถามให้นักเรียนหรือกลุ่มของนักเรียน ไปอ่านและเขียนคำ�ตอบเป็นการบ้านส่งครู กรณีนี้ครูจะมีเวลาเลือกคำ�ตอบ ของนักเรียนบางคนหรือบางกลุ่มที่เห็นว่ามีประเด็นที่ควรจะให้นักเรียน ทั้งห้องได้เห็นและได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นหรืออภิปราย ทั้งในประเด็น ที่ดีที่เป็นตัวอย่างที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ หรือประเด็นที่นักเรียนผู้ตอบ ยังมีความเข้าใจไม่ชัดเจนหรือคลาดเคลื่อน หรือยังมีประเด็นอื่นๆ ที่นักเรียน ทั้งห้องควรรู้ และถ้าครูเห็นว่ามีนักเรียนบางคนยังไม่สามารถจับประเด็น สรุป วิเคราะห์ ตีความ ฯลฯ เรื่องที่อ่านได้ ครูควรสอนเสริมให้กับนักเรียน เหล่านั้นเป็นรายบุคคล *PISA ย่อมาจาก Programme for International Student Assessment **OECD ย่อมาจาก The Organisation for Economic Co-operation and Development

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5