นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 243
60 นิตยสาร สสวท. จากภาพ 2 จะเห็นได้ว่า เมื่อน้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดแล้วจากโรงงาน (FDNPP) ถูกปล่อยลงสู่ทะเล สารกัมมันตภาพรังสีจะผ่านเข้าสู่สายใยอาหาร ในทะเล (Marine Food Web) บางส่วนเคลื่อนที่ไปตามกระแสน้ำ�ใน มหาสมุทร บางส่วนจะตกสะสมอยู่ในตะกอนก้นทะเล ขณะเดียวกันก็จะมี โอกาสที่จะปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ�ใต้ดินได้ด้วยเช่นกัน และส่งต่อไปสะสมใน สายในอาหารในแหล่งน้ำ�จืด สะสมในอากาศ ในดิน และอื่นๆ จากรายงาน การวิจัยที่พบว่า ผีเสื้อที่อาศัยในจังหวัดฟุกุชิมะมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี ในระดับต่ำ�เป็นเวลานานๆ ดังภาพ 3 ผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติม ได้จากงานวิจัยนี้ ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่สำ�รวจและเก็บข้อมูลผีเสื้อ จากพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดฟุกุชิมะ และข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ได้ที่ The Fukushima nuclear accident and the pale grass blue butterfly: evaluating biological effects of long-term low-dose exposures | BMC Ecology and Evolution | Full Text (biomedcentral.com) มีการเก็บตัวอย่างปลาแซลมอนจากแม่น้ำ� Mano ที่อยู่ทาง ทิศเหนือของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะและเป็นเขตที่มีการปนเปื้อนสูง เทียบกับปลาแซลมอนชนิดเดียวกันที่เลี้ยงจากฟาร์มที่ไม่มีการปนเปื้อน พบว่า DNA ในไมโทคอนเดรียของปลาแซลมอนที่เก็บจากแม่น้ำ�มีการ กลายพันธุ์เกิดขึ้น ในขณะที่ปลาแซลมอนในฟาร์มจะไม่พบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของ DNA ในไมโทคอนเดรีย โดยคุณๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก Yusof, M. F. B., Kawada, G., Enomoto, M., Tomiya, A., Watanabe, M., ิ ต QUIZ มนุษย์กินอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีเข้าไป และถ้าไม่กินก็สามารถผ่านการสัมผัส หรือเข้าสู่ระบบหายใจได้เช่นกัน วิธี บำ�บัดน้ำ�ที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่ถูกนำ�มาใช้ที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ คือ วิธีที่เรียกว่า Advanced Liquid Processing System (ALPS) ที่สามารถกำ�จัดสารกัมมันตภาพรังสีอื่นๆ ได้ ยกเว้น tritium ซึ่งมี half-life อยู่ที่ 12.43 ปี โดย Tritium จะมีอันตรายน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสาร กัมมันตภาพรังสีชนิดอื่นๆ แต่ถ้าปนเปื้อนในอาหารแล้วกินอาหารนั้นๆ เข้าไป มากๆ ก็สามารถทำ�ให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน ภาพ 2 แสดงการเดินทางของสารกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่ปล่อย ออกมากับน้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดแล้วลงทะเล (FDNPP: the Fukushima Daiichi Nuclear Power Plant) (ภาพประกอบจาก Lu, Yuan, Du, Sun, & Yi, 2021) Morishita, D., F. B. Kawada & et al. (2020). Mutations observed inmitochondrial DNA of salmon collected in Mano river, Fukushima prefecture, Japan. Low-Dose Radiation Effects on Animals and Ecosystems: Long-Term Study on the Fukushima Nuclear Accident : 89-98. เป็นหนังสือที่รวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบ ของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีในระดับต่ำ� เป็นเวลานานๆ ต่ายไม่แปลกใจเลย ที่หลังจากเกิดเหตุระเบิดในครั้งนั้นแล้ว ทำ�ให้ คนญี่ปุ่นพากันอพยพย้ายบ้านไปอยู่เมืองอื่นๆ กันมากมาย ท้ายสุด ต่ายก็เกิดคำ�ถามขึ้นมาในใจอีกแล้วว่า “แล้วประเทศไทย ล่ะ” ที่เป็นประเทศแรกๆ ที่รับซื้ออาหารทะเลจากญี่ปุ่นหลังจากเกิดเหตุ โรงงานไฟฟ้าระเบิดมาได้สักระยะหนึ่ง โดยที่ประเทศอื่นๆ ยังคงงด การนำ�เข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่น แสดงว่าประเทศไทยมีระบบการตรวจสอบ คุณภาพและอันตรายจากการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่เข้มงวดใช่หรือไม่ และไม่ว่าคำ�ตอบจะ ใช่ หรือ ไม่ใช่ คุณจะมีวิธีการอย่างไรที่จะดูแลตัวเอง เพื่อทำ�ให้เราได้กินอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ต่ายเชื่อว่าคุณมี คำ�ตอบในใจแล้ว หากสนใจหรืออยากให้ต่ายติดตามเรื่องราวอะไรที่จะเป็น ประโยชน์ต่อคุณหรือเด็กในชั้นเรียนก็สามารถเขียน email ส่งมาบอกกล่าว หรือมาคุยกับต่ายได้เหมือนเดิมที่ funny_rabbit@live.co.uk ภาพ 3 แสดงการเกิดการกลายพันธุ์ของผีเสื้อ (A) แสดงลวดลายบนปีกผีเสื้อสายพันธุ์ปกติ รุ่นพ่อแม่ (B) แสดงลวดลายบนปีกผีเสื้อรุ่นลูก รุ่นที่ 1 และ 2 (รุ่น F1 และ F2) ที่อาศัย ในจังหวัดฟุกุชิมะ (อ้างอิง Hiyama, A., Nohara, C., Taira, W., Kinjo, S., Iwata, M., & Otaki, J. M. (2013). The Fukushima nuclear accident and the pale grass blue butterfly: evaluating biological effects of long-term low-dose exposures. BMC evolutionary biology, 13(1), 1-25.) สุภาษิตของชาวเอธิโอเปีย กล่าวไว้ว่า “จงกินอาหารเมื่อ มีอาหารพร้อมให้กิน และพูด เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม” ต่าย แสนซน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5