นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 243
ปีที่ 51 ฉบับที่ 243 กรกฎาคม - สิงหาคม 2566 7 - ให้นักเรียนวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของผู้เขียน (ทำ�ไมผู้เขียนจึง เขียนบทความนี้ และบทความนี้ ผู้เขียนต้องการสื่อสารให้กับกลุ่มเป้าหมาย ใดกลุ่มเป้าหมายหนึ่งโดยเฉพาะหรือไม่) และให้เหตุผลว่าเหตุใดนักเรียน จึงวิเคราะห์เช่นนั้น - ให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่า สาระในเรื่องที่อ่านส่วนใดเป็น ข้อเท็จจริง และส่วนใดเป็นความเห็นของผู้เขียน ในการสอน ครูควรกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันระหว่างนักเรียนให้มาก พยายามฝึกให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์ และหาหลักฐานหรือข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์ โดยครูเน้นให้นักเรียนวิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ใน ลักษณะ “ติเพื่อก่อ” ไม่ใช่ในลักษณะ “จับผิด” เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นการฝึกให้นักเรียนเป็นคนใจกว้าง ยอมรับฟัง ความคิดเห็น หรือคำ�ติชมซึ่งกันและกัน อีกประเด็นหนึ่งที่สำ�คัญคือ ในปัจจุบันมีผู้เขียนบทความหรือ ผลิตงานเขียนหรือแปลงานเขียน เผยแพร่จำ�นวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นทวีคูณ ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีบทความและ งานเขียนจำ�นวนหนึ่งที่อาจมีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ผู้เขียนมีเจตนา ไม่บริสุทธิ์เขียนเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือกลุ่มพวกพ้องของตนเอง สร้าง ความเข้าใจผิด สร้างความเกลียดชังซึ่งกันและกันในสังคม ฯลฯ โดยเฉพาะ หลังจากที่นักเรียนได้มีประสบการณ์ในการอภิปราย วิเคราะห์ และวิพากษ์คำ�ตอบของเพื่อนตามรายละเอียดข้างต้นได้ระยะหนึ่งแล้ว ขั้นต่อไปครูอาจแบ่งนักเรียนในห้องเป็นกลุ่ม แล้วมอบหมายให้นักเรียน แต่ละกลุ่มไปค้นหาและเลือกอ่านบทความหรืองานเขียนจากแหล่งต่างๆ ตามความสนใจ ทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโซเชียลมีเดีย แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มตั้งคำ�ถามจากเรื่องที่ตนเองเลือกอ่าน หลังจากครูตรวจสอบคำ�ถามเบื้องต้นแล้ว จึงนำ�บทความหรือ งานเขียนพร้อมคำ�ถามที่นักเรียนตั้งขึ้นมาแลกเปลี่ยนให้เพื่อนอีกกลุ่มหนึ่ง ได้อ่านและตอบคำ�ถามเหล่านั้น แล้วให้กลุ่มนักเรียนเจ้าของคำ�ถามเป็น ผู้วิพากษ์แสดงความคิดเห็นต่อคำ�ตอบของเพื่อน ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาส ให้กลุ่มเพื่อนผู้ตอบคำ�ถามได้แสดงความคิดเห็นโต้แย้ง รวมถึงอภิปรายเพื่อ วิเคราะห์ วิพากษ์ คำ�ถามที่เพื่อนตั้งขึ้นด้วย กิจกรรมรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถใช้ในการสอนการอ่านได้ดี เช่น - ให้นักเรียนระบุคำ�สำ�คัญจากเรื่องที่อ่าน - ให้นักเรียนอ่านข้อความที่ไม่มีชื่อเรื่อง แล้วให้นักเรียนแข่งขันกัน ตั้งชื่อเรื่อง พร้อมให้เหตุผลประกอบในการตั้งชื่อเรื่อง แล้วให้เพื่อนแสดง ความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ - ให้นักเรียนเขียนสรุปความใหม่โดยใช้สำ�นวนถ้อยคำ�ของตนเอง - ให้นักเรียนย่อเรื่องที่อ่าน ภาพจาก : https://www.weeboon.com/en/campaign/provide-education-in-the-english-language-to-underprivileged-children-of-thailand
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5