นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244
ปีที่ 51 ฉบับที่ 244 กันยายน - ตุลาคม 2566 11 เจริญเติบโต รวมถึงช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าของพืชที่ผู้เรียนลงมือ ปลูกด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนจึงทำ�ให้ผู้เรียนมีความรู้และ ความเข้าใจมากขึ้นผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ผู้เรียนจะได้รับ การพัฒนาทางด้านทักษะที่จำ�เป็นหลายทักษะ ด้านเจตคติ และด้าน ความตระหนักต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้เรียนยังได้รับแรงจูงใจ ในการเรียนรู้และปลูกฝังการมีคุณลักษณะของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่ง คุณลักษณะเหล่านี้ที่ได้จากการส่งเสริมและการพัฒนาผ่านการเรียนรู้ นอกห้องเรียนควบคู่กับการเรียนรู้ในห้องเรียนจะเป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะ ของผู้เรียนที่สังคมโลกคาดหวังและต้องการในอนาคตได้ Hammerman, D. R. & Hammerman, M. W. & Hammerman, E. L. (1994). Teaching in Outdoor . New York: Maryland. OECD. (2019). Future of Education and Skills 2030 Concept Note . Retrieved April 25, 2023, from https://www.oecd.org/education/2030-project/teaching-and-learning/ l earning/skills/Skills_for_2030_concept_note.pdf. Parker, L. (2022). Outdoor Learning, a Pathway to Transformational Learning? Or Another Educational Gimmick? International Journal for Cross-Disciplinary Subjects in Education, 13 (1): 4600-4611. Parker, L. (2022). Outdoor Learning, a Pathway to Transformational Learning? Or Another Educational Gimmick? International Journal for Cross-Disciplinary Subjects in Education . Retrieved April 25, 2023, from https://doi.org/10.20533/ijcdse.2042.6364.2022.0565. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด. นันท์พัทธนันท์ เชื้อแก้ว. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการ การเรียนรู้นอกห้องเรียนและการกระจ่างค่านิยม เพื่อเสริมสร้างความรู้และการปฏิบัติเพื่อ สิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023. จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/ CU.the.2007.1083. สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ . กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ. สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 . กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ. อรนุช ลิมตศิริ. (2560). การศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silapakorn University, 10 (3): 1643-1658. บรรณานุกรม เมื่อผู้เรียนได้ทำ�กิจกรรม “สวนผักสุขภาพดี” ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่ง ของแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเกี่ยวกับการ ปลูกผักสวนครัว ผู้เรียนจะได้ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการขยายพันธุ์พืช ธาตุอาหารที่สำ�คัญของพืช และการเลือกใช้ปุ๋ยเพื่อปลูกผักสวนครัวผ่าน การลงมือปฏิบัติจริง ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการระบุปัญหา ความต้องการ และ เงื่อนไข การรวบรวมข้อมูล การตัดสินใจในการตั้งเป้าหมาย การวางแผน การแก้ปัญหา ตลอดจนการสื่อสารเพื่อนำ�เสนอชิ้นงาน นอกจากนี้ ผู้เรียนจะได้ ฝึกวินัย ความมุ่งมั่น และความรับผิดชอบในการสร้างและดูแลผักสวนครัว และฝึกความอดทนในการเฝ้ารอผักแต่ละชนิดที่ต้องใช้ระยะเวลาในการ - หากผู้เรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับผักสวนครัว ผักอนามัย ผักปลอดสารพิษ และผักอินทรีย์ ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนลองค้นหา ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต หรือพาผู้เรียนไปรู้จักผักชนิดต่างๆ ในตลาดหรือแหล่งปลูกผัก จากนั้นให้ผู้เรียนช่วยกันระดมความคิดและแลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน ก่อนจะให้ผู้เรียนไปสำ�รวจชนิดของผักที่ครอบครัวนิยมนำ�ไปใช้ประกอบอาหาร - ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลการปลูกผักสวนครัว การดูแล การป้องกันและกำ�จัดศัตรูพืชจากบุคคลที่มีประสบการณ์ ในการปลูกผักสวนครัว หรือแหล่งเรียนรู้ที่มีความน่าเชื่อถือ - ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแต่ละคนสร้างสวนผักสุขภาพดีไว้ที่บ้าน หรือแบ่งกลุ่มผู้เรียนเพื่อสร้างสวนผักสุขภาพดีไว้ที่โรงเรียน - กรณีที่ผู้เรียนมีพื้นที่ปลูกจำ�กัด ผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนขนาดของพื้นที่ปลูกได้ตามความเหมาะสม หรืออาจให้ผู้เรียน ปลูกผักในแนวตั้ง เช่น การจัดวางกระถางเรียงซ้อนกัน การแขวนกระถาง รวมถึงในกรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถปลูกผักในดินได้ อาจให้ ผู้เรียนปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ โดยผู้สอนอาจให้ความรู้เพิ่มเติมหรือให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ - ผู้เรียนอาจให้ผู้สอนกำ�หนดสิ่งที่อยากบันทึกในส่วนความก้าวหน้าของสวนผักสุขภาพดี เช่น การเจริญเติบโตของผักที่ ปลูกเป็นอย่างไร สภาพอากาศมีผลต่อการเจริญเติบโตของผักอย่างไร ปัญหาที่พบหรือวิธีการแก้ไขที่ได้ดำ�เนินการแล้วในระหว่างการสร้าง และการดูแลสวนผักสุขภาพดี - ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนนำ�เสนอสวนผักสุขภาพดีในรูปแบบวีดิทัศน์ โดยผู้สอนคัดเลือกผลงานของผู้เรียนที่น่าสนใจมานำ�เสนอ และอภิปรายร่วมกันภายในห้อง - ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนนำ�ผักที่ปลูกได้มาขายภายในโรงเรียน หรืออาจให้ผู้เรียนแข่งขันกันปลูกผักโดยเน้นคุณภาพและปริมาณ ของผักที่ปลูกได้ - ผู้สอนสามารถบูรณาการกิจกรรมนี้กับวิชาอื่นๆ เช่น วิชาการงานอาชีพ วิชาศิลปะ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5