นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244

ปีที่ 51 ฉบับที่ 244 กันยายน - ตุลาคม 2566 13 โ ลกแห่งความเป็นจริง มนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยวิธีการเรียนรู้แบบจดจำ�รูปแบบ (Pattern Recognition) มีวิธีการ ดังนี้ เมื่อมนุษย์สังเกตเห็นสิ่งของหรือสัตว์ที่ไม่รู้จัก (คือไม่มีใน ฐานข้อมูลในสมองเลย) ขั้นตอนต่อมามนุษย์รับรู้สิ่งที่ไม่รู้จักจากผู้อื่น และเมื่อขั้นตอนเหล่านี้เกิดขึ้นหรือเกิดการเห็นบ่อยๆ มากขึ้น เห็นสิ่งเหล่านั้น มากขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันหลายๆ รูปแบบ หลายๆ มุม หลายๆ รูป ทรง และเมื่อเห็นสิ่งนั้นอีกครั้งก็จะสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคืออะไร 1. ระบบเซลล์ประสาทของมนุษย์ เซลล์ประสาท (Neuron) ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย ตัวเซลล์ (Cell Body) ซึ่งมีนิวเคลียส (Nucleus) บรรจุอยู่ข้างใน แอกซอน (Axon) เดนไดรต์ (Dendrite) และไซแนปส์ (Synapse) การทำ�งานของเซลล์ประสาท จะรับข้อมูลเข้ามาจากเซลล์ประสาทอื่นผ่านทางไซแนปส์เข้ามายังเดนไดรต์ ของเซลล์ จากนั้นตัวเซลล์จะรวบรวมสัญญาณเข้าทั้งหมด แล้วประมวลผล ให้ได้สัญญาณนำ�ออกเพื่อส่งเป็นข้อมูลเข้าใหเ้ซลล์อื่นต่อไป ภาพ 1 ระบบเซลล์ประสาทของมนุษย์ ที่มา: BruceBlaus - Own work, CC BY 3.0 2. ประวัติของโมเดลโครงข่ายประสาทเทียม ประวัติของโมเดลโครงข่ายประสาทเทียมมาจากจุดเริ่มต้น การคิดค้นเรื่องโครงข่ายประสาทเทียม โดยแนวคิดเรื่องโครงข่าย ประสาทเทียม เริ่มจากโมเดล Perceptron ที่ McCulloch and Pitts ได้เสนอในปี ค.ศ. 1943 และมีการสร้างเครื่อง Perceptron ขึ้นมาทดลอง ใช้จริง ในปี ค.ศ. 1958 ผู้ค้นคว้าในช่วงเริ่มต้นประยุกต์โครงข่ายประสาทเทียม ให้แก้ปัญหาในการจำ�แนกแยกแยะตัวอักษรเป็นหลัก ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 Marvin Minsky ได้เสนอตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ Perceptron ต่อมา ในปี ค.ศ. 1978 ได้มีนักวิจัย นักวิชาการ นักคอมพิวเตอร์ นักชีววิทยา นักฟิสิกส์และนักจิตวิทยามารวมตัวกันพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมและ เรียกกลุ่มตนเองว่า PDP Group (Parallel Distributed Processing Group) เพื่อเข้าใจความเป็นมาและต่อยอดงานโครงข่ายประสาทเทียม ดังภาพ 2 เครื่อง Mark I Perceptron ภาพ 2 โมเดล Perceptron ที่ McCulloch and Pitts นำ�เสนอ ที่มา: https://www.researchgate.net/figure/Frank-Rosenblatt-with-his-Mark-I-percep- tronleft-and-a-graphical-representation-of_fig2_345813508 3. โครงข่ายประสาทคืออะไร การทำ�งานของสมองมนุษย์นั้น ภายในสมองมนุษย์จะประกอบ ไปด้วยหน่วยประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่าเซลล์ประสาท (Neuron) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,011 เซลล์ โดยภายในเซลล์ประสาทแต่ละตัวนั้น ยังประกอบไปด้วย ตัวเซลล์ เดนไดรต์ เเอกซอนและไซแนปส์ มีการถ่ายทอด สัญญาณข้อมูลผ่านไซแนปส์จากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่ง ในรูปแบบของสารเคมีที่เรียกว่าไซแนปส์เคมี (Chemical Synapse) โดย สัญญาณข้อมูลเข้า (Input) จะถูกประมวลและส่งสัญญาณออก (Output) ไปยังส่วนของเเอกซอน ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกมาจะถูกนำ�เข้าสู่ปลายของ เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทตัวอื่นเพื่อทำ�การประมวลผลต่อไป 4. โครงข่ายประสาทเทียม โครงข่ายประสาทเทียม หรือนิวรอนเน็ตเวิร์ก (Neural Network) นั้น เป็นวิทยาการแขนงหนึ่งทางปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) โดยพยายามลอกเลียนแบบการทำ�งานของเซลล์ประสาทในสมองมนุษย์ที่ เรียกว่า เซลล์ประสาทเทียม (Artificial Neural) ซึ่งเซลล์ประสาทเทียม ที่จำ�ลองขึ้นจะมีความเร็วในการประมวลผลสูงกว่าเซลล์ประสาทจริงใน สมองมนุษย์ แต่เซลล์ประสาทจริงในสมองมนุษย์จะสามารถทำ�งานได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5