นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244

18 นิตยสาร สสวท. ปี ค.ศ. 2019 สำ�นักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า Triton Submarines ซึ่งเป็นเรือดำ�น้ำ�ขนาดเล็กได้ถูกส่งไปสำ�รวจซากเรือไททานิก พร้อมบันทึกภาพที่ระดับความลึก 3,800 เมตร ทีมนักสำ�รวจใต้น้ำ� จึงพบซากเรือที่ถูกกัดกร่อนไปอย่างมากด้วยสาเหตุจากแบคทีเรีย ความเค็ม ของน้ำ�ทะเล ความแรงของกระแสน้ำ� นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าอีกไม่กี่ปี ซากเรือจะถูกกัดกร่อนไปจนหมด จึงเป็นเหตุให้มหาเศรษฐีจากทั่วทุกมุมโลก อยากที่จะท่องเที่ยวเพื่อชมซากเรือก่อนที่จะสูญหายไปตามกาลเวลา อย่างไม่เหลือให้เห็นในปัจจุบัน ภาพ 2 การเกิดสนิมย้อยบนซากเรือไททานิก จากการกัดกร่อนของ Halomonas titanicae ที่มา: https://www.nationalgeographic.com/history/article/titanic-tourism ภาพ 3 ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตใต้มหาสมุทร ที่มา: https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fmars.2017.00222/full ภาพ 4 แบคทีเรีย Halomonas titanicae ที่มา: https://www.bbc.com/news/science-environment-11926932 ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถหยิบยกประเด็นจากข่าวสาร ที่น่าสนใจ เช่น ข่าวการค้นพบแบคทีเรียที่กัดกร่อนซากเรือไททานิก นำ�มา อภิปรายในชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ เป็น คำ�ถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด แล้วนำ�ไปสู่การค้นคว้าหาข้อมูล เช่น 1. การตั้งคำ�ถามว่า เพราะเหตุใดเมื่อเวลาผ่านไป ซากเรือไททานิก ที่จมอยู่ใต้ทะเลลึกจึงถูกกัดกร่อน 2. ผู้เรียนคิดว่าแบคทีเรียมีกระบวนการกัดกร่อนซากเรือได้อย่างไร 3. ข่าวที่ค้นพบการกัดกร่อนของแบคทีเรียมีความสำ�คัญต่อความ หลากหลายทางชีวภาพ และมีหลักการอนุกรมวิธานอย่างไร บทความนี้จะช่วยเสริมเนื้อหาในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) บทที่ 23 เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพ ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกและหลักการที่นักอนุกรมวิธานใช้จำ�แนกสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่ และจำ�แนกสิ่งมีชีวิตจากลำ�ดับขั้นใหญ่จนถึงลำ�ดับขั้นเล็ก ตามระบบของลินเนียส ระบบนิเวศแหล่งน้ำ�เค็มมีพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของผิวโลก ได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร โดยแบ่งชั้นความลึกได้ 5 ระดับ ตามลักษณะ ทางกายภาพ เช่น ความลึกของน้ำ� ปริมาณแสง แรงดันน้ำ� ความลาดชัน ของพื้นที่ ซึ่งช่วงที่แสงส่องถึงเป็นช่วงลึก 200 เมตร จุดที่ลึกที่สุดเท่าที่ มนุษย์สำ�รวจถึงคือ ลึก 10,920 เมตร ดังภาพ 3 เนื่องจากซากเรือไททานิกได้จมสู่ใต้ทะเลระดับความลึก 3,800 เมตร จึงจัดอยู่ใน Bathypelagic Zone เป็นบริเวณที่แสงส่องไม่ถึง สิ่งมีชีวิต บางชนิดมีการสร้างแสงสว่างเอง เช่น Angler Fish มีอวัยวะเรืองแสง หลอกล่อเหยื่อเพื่อกินเป็นอาหาร ในระดับความลึกนี้มีการพบจุลินทรีย์ หลากหลายชนิด แม้กระทั่งซากเรือไททานิกซึ่งมีวัสดุโลหะเป็นองค์ประกอบ ยังพบแบคทีเรียชนิด Halomonas titanicae เจริญเติบโตได้ดีบนซากเรือ โดยกัดกร่อนโลหะเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในการดำ�รงชีวิต Halomonas titanicae เป็นแบคทีเรียที่ชอบเกลือ ค้นพบในปี ค.ศ. 2010 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Henrietta Mann ได้เก็บตัวอย่างแบคทีเรีย สปีชีส์นี้จากสนิมย้อย (Rusticle) บนซากเรือไททานิก ซึ่งคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 เรือไททานิกอาจถูกกัดกร่อนทั้งหมด

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5