นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244
20 นิตยสาร สสวท. เมื่อชิ้นส่วนโลหะของเรือไททานิกถูกกัดกร่อนด้วย ปฏิกิริยาเคมีใต้น้ำ� แบคทีเรียเหล่านี้จะกัดกินสนิมที่เกิดจาก การกัดกร่อนสนิมดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง ทำ�ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สนิมย้อย ดังภาพ 6 แสดงถึง สนิมที่หลุดออกด้านล่างของ ที่ยึดสมอของเรือไททานิก ซึ่งมีการประเมินวัฏจักรของการ ก่อตัวจนถึงสุกแก่ของสนิม แล้วร่วงหล่นหายไป อยู่ในวงจร 5 ถึง 10 ปี สนิมย้อย (Rusticle)ประกอบด้วยสารประกอบเหล็ก มากถึง 35% รวมทั้งเหล็กออกไซด์ เหล็กคาร์บอเนต และเหล็ก ไฮดรอกไซด์ ส่วนที่เหลือเป็นสารประกอบที่ซับซ้อนของ จุลินทรีย์ แบคทีเรีย Halomonas titanicae และเชื้อราที่ใช้ สนิมโลหะเป็นแหล่งอาหารอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพากัน จะเห็นได้ว่าแบคทีเรียมีความสำ�คัญยิ่งต่อระบบนิเวศ ทำ�หน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (Decomposer) โซ่อาหาร ในทะเลลึก โดยการย่อยสารอินทรีย์ให้เป็นสารอนินทรีย์ทำ�ให้ เกิดการหมุนเวียนสารและพลังงาน เป็นการใช้ประโยชน์และ นำ�กลับมาใช้ใหม่ของแร่ธาตุภายในระบบนิเวศ เช่น คาร์บอน ไนโตรเจน แม้ว่าการมีอยู่ของซากเรือล่มในแต่ละแห่งจะมี ประโยชน์ในการช่วยเพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ ในน้ำ� แต่ยังมีข้อเสียเพราะซากเรือล่มถือเป็นขยะทางทะเล เช่น วัสดุ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ซึ่งย่อยสลายยาก และสร้างมลพิษ ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต้องใช้เวลานับร้อยปีที่จะทำ�ให้ธรรมชาติ กลับสู่ความสมดุลของระบบนิเวศ สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังว่า ผู้สอนสามารถนำ�ประเด็นจากข่าวมาประยุกต์ใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำ�คัญ ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ดังที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม เป็นประเทศภาคีของนานาประเทศเพื่อให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน Abhilash Kumar Tripathi et.al. (2021). Gene Sets and Mechanisms of Sulfate-Reducing Bacteria Biofilm Formation and Quorum Sensing With Impact on Corrosion . Retrieved 12, 2023, from https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fmicb.2021.754140/full. Allie Yang, (2023). Inside the Titanic wreck’s lucrative tourism industry . Retrieved August 12, 2023, from https://www.nationalgeographic.com/history/article/titanic- tourism. Amy Apprill. (2017). Marine Animal Microbiomes: toward understanding host–microbiome interactions in a changing ocean . Retrieved August 12, 2023, from https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fmars.2017.00222/full. Cullimore Dr. Roy: lori Johnston. (2003). Rusticles Thrive on the Titanic . Retrieved August 12, 2023, from https://www.oceanexplorer.noaa.gov/explorations/03titanic/ rusticles/rusticles.html. History.com Editors. (2022). titanic sinks. Retrieved July 10, 2023, from https://www.history.com/this-day-in-history/titanic-sinks. อาสาสมัครวิกิพีเดีย. Halomonas_titanicae . สืบค้นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2566, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Halomonas_titanicae. บรรณานุกรม ภาพ 6 สนิมย้อยบริเวณด้านล่างของที่ยึดสมอเรือไททานิก ที่มา: https://www.oceanexplorer.noaa.gov/explorations/03titanic/rusticles/rusticles.html
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5