นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244
ปีที่ 51 ฉบับที่ 244 กันยายน - ตุลาคม 2566 25 ผลการประเมินกิจกรรม “แบคทีเรียเรืองแสง” จากนักเรียน บางส่วนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ในปี พ.ศ. 2565 - 2566 - ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริงๆ ทำ�ให้พวกหนูได้ซึมซับเนื้อหาได้ อย่างถ่องแท้ และมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น - ได้ความรู้เรื่อง gfp เยอะมากๆ เลยค่ะ นอกจากจะได้ความรู้ แล้ว ยังได้ฝึกทำ�แล็บ เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคต นอกจากนั้น ได้รับมิตรภาพดีๆ และความสนุกสนานมากมาย - ได้มีความคุ้นชินกับห้องทดลองมากขึ้น ได้ทดลองและลงมือทำ� ด้วยตนเองซึ่งตามปกตินั้นไม่ค่อยไดัทำ�การทดลองที่มีความซับซ้อนขนาดนั้น นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์ในห้องทดลองใหม่ๆ ด้วย - ได้รับประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ จาก ผู้เชี่ยวชาญ และได้ทดลองการตัด DNA - ได้ลงมือทำ�เยอะมากๆ ได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ และฟังบรรยาย ทำ�ให้เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจและจดจำ�ได้ดี - ได้ทดลองใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่เคยใช้ - ได้ความรู้เพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์ด้วยว่า gfp คืออะไร มาจากไหน ใครทำ� ใครคิด มีสีอะไร ใช้กับอะไร แล้วทำ�ไมต้องมีต้องหามาใช้ ทำ�ไมต้องวิจัย - ได้รู้ว่านักวิจัยทำ�งานกันแบบไหน ได้ลงมือทำ�จริงๆ เกี่ยวกับ PCR - ได้ความรู้เรื่องแบคทีเรียและกระบวนการ PCR - ได้รับความรู้ใหม่ๆ เยอะมากเลยค่ะ ทั้งทักษะการใช้เครื่องมือ ต่างๆ ในห้องแล็บ เช่น Autopipette การชั่งตวงวัดสารต่างๆ และได้ฝึก ความละเอียดและความแม่นยำ� - ได้เรียนรู้เกี่ยวกับแบคทีเรียเรืองแสงและข้อมูลวิธีการในการ ตัดต่อ DNA สาเหตุต่างๆ ที่สามารถทำ�ให้ผลคลาดเคลื่อน ประวัติความเป็นมา คร่าวๆ ของการตัดต่อแบคทีเรียเรืองแสง ได้เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์ใน ห้องทดลอง - นำ�ไปปรับใช้กับโครงงาน หรือการเลือกสายอาชีพในอนาคต ผลจากการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม “แบคทีเรีย เรืองแสง” ในหัวข้อ ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับ พบว่านักเรียนมากกว่า 90% (27 จาก 29 คน ที่ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ)ให้คะแนนในระดับ ความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด บทสรุป กิจกรรมแบคทีเรียเรืองแสงเป็นกิจกรรมที่รวบรวมเอาเทคนิคพื้นฐาน ทางด้านพันธุวิศกรรมมาออกแบบเป็นหลักสูตร การเรียนรู้เพิ่มเติมระยะสั้น สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศีกษาตอนปลายยที่เน้นวิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นที่ การลงมือปฏิบัติให้นักเรียนได้มีประสบการณ์การโคลนยีนและสามารถสร้าง แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมที่ตรวจสอบได้ง่ายโดยสังเกตการเรืองแสง Crameri A & Whitehorn EA & Tate E & Stemmer WP. (1996). Improved Green Fluorescent Protein by Molecular Evolution Using DNA Shuffling. Nat Biotechnol . 14 (3): 315-9. doi: 10.1038/nbt0396-315. PMID: 9630892. Kishimoto H, et al. (15 Aug 2011). Tumor-selective, adenoviral-mediated GFP genetic labeling of human cancer in the live mouse reports future recurrence after resection. Cell Cycle. 10 (16):2737-41. doi: 10.4161/cc.10.16.16756. Epub 2011 Aug 15. PMID: 21785265; PMCID: PMC3219541. Kim W, et al. (22 Aug 2006). A high-throughput screen for compounds that inhibit aggregation of the Alzheimer’s peptide. ACS Chem Biol. 1 (7): 461-9. doi: 10.1021/cb600135w. PMID: 17168524. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา ม.4 เล่ม 2 . สืบค้นวันที่ 1 กรกฏาคม 2566, จาก https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-biology/m4-bio-book2/. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5