นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244
38 นิตยสาร สสวท. การเรียนรู้จากการลงมือทำ� (Learning by Doing) การเรียนรู้จากการลงมือทำ�เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ทำ�ให้เกิดองค์ความรู้ จากการลงมือทำ�ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเกิดความเชื่อมั่น ความใฝ่รู้ และสืบค้นหาความรู้เพิ่มเติม ทำ�ให้พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรอบด้าน ทั้งการอ่าน พูด ฟังรวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และสามารถคิดแก้ปัญหา โดยนำ�ความรู้ไปประยุกต์ใช้ และสามารถ พัฒนาความรู้และความคิดของตนไปในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้อยู่กับผู้เรียนในระยะยาว ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้จากการอ่าน ท่องจำ� หรือการฟังบรรยายและการสังเกต หรือการสาธิตที่ได้รับจากครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว จึงจัดได้ว่าการเรียนรู้จากการลงมือทำ�เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2553) มีลักษณะดังนี้ เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำ�ความรู้ไปประยุกต์ใช้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน และเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การจัดการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง และเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสารหรือ สารสนเทศ และหลักการความคิดรวบยอด ครูจะปรับบทบาทของตนเองจากการเป็นผู้ให้ความรู้โดยตรงกับผู้เรียน ปรับเปลี่ยนมาเป็น ผู้อำ�นวยความสะดวก (Facilitator) ให้คำ�ปรึกษาและดูแล ทำ�หน้าที่เป็นโค้ชและพี่เลี้ยง (Coach and Mentor) กระตุ้นและสร้าง แรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมได้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งความรู้จากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ สิ่งที่จะเรียนรู้นั้นจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความเป็นไป ของโลกและการสรุปทบทวนของตัวผู้เรียนเอง ซึ่งเหมาะกับการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันที่มีแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและสามารถ เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่าในอดีต บทบาทของครูในฐานะเป็นผู้กระตุ้นการเรียนรู้ บทบาทสำ�คัญของครูในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดย ดุษฎี โยเหลา และคณะ (2557) ได้กล่าวว่า ครูจะต้องเป็นผู้สังเกตการทำ�งานของผู้เรียน ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ โดยใช้คำ�ถามปลายเปิด กระตุ้นการเรียนรู้แทนการบอกกล่าว ครูต้องศึกษาและรู้จักข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อแสดงบทบาทให้เหมาะสมในการทำ�ให้เกิด Active Learning กับผู้เรียนเป็นรายคน ดังภาพ 1 Active Learning กับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากที่ได้กล่าวมาแล้ว การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย เช่น ความแห้งแล้ง ฤดูกาลและ ปริมาณฝนเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำ�ทะเลสูงขึ้นเนื่องจากน้ำ�แข็ง ขั้วโลกละลาย พายุและภัยพิบัติที่รุนแรงและถี่ขึ้น ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อการดำ�รงชีวิตของเราซึ่งเป็นพลเมืองของ โลกใบนี้ที่ต้องเผชิญ ตัวอย่างเช่น น้ำ�ท่วมส่งผลต่อการคมนาคมและ การใช้ชีวิตประจำ�วันของประชาชน การทำ�การเกษตรที่ยากลำ�บาก มากขึ้นเนื่องจากความผันแปรของสภาพอากาศทำ�ให้ผลผลิต ตกต่ำ�และส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร ด้านสุขอนามัย จากการเจ็บป่วยและเสียชีวิต จากคุณภาพอากาศและน้ำ�ที่ แย่ลงกว่าเดิม หรือการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากยุง ดังนั้น การส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้าใจ ความตระหนักรู้ต่อ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง และสามารถ สร้างองค์ความรู้ในด้านนี้เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะต้องเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญยิ่ง ภาพ 1 บทบาทของครูในการกระตุ้นนักเรียน ที่มา: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5