นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244
60 นิตยสาร สสวท. ในแบบเรียบง่ายมากที่สุดในแบบที่เราสามารถอยู่ได้ คนละไม้คนละมือ ต่ายเชื่อว่าเราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อม ของโลกได้ ต่ายเริ่มแล้ว คุณๆ เริ่มหรือยัง อยู่ที่ใจคุณๆ แล้วล่ะ สุดท้าย จากเรื่องที่ต่ายนำ�มาเล่าสู่กันฟัง น่าจะมีส่วนช่วยให้ คุณได้เข้าใจ ทำ�ใจ เริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเพื่อให้สามารถ อยู่ได้บนโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใบนี้ หากคุณสนใจหรือ อยากให้ต่ายติดตามเรื่องราวอะไรเป็นพิเศษ เหมือนเดิม คุณสามารถ เขียน e-mail ส่งมาบอกกล่าวหรือมาคุยกับต่ายได้เหมือนเดิมที่ funny_ rabbit@live.co.uk การแพร่กระจายเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกในลุ่มแม่น้ำ�อเมซอนจะส่งผลทำ�ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น (ทำ�ลายสถิติของ ทุกๆ ปีที่ผ่านมา โดยในเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2566 มีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 17.07 องศาเซลเซียส) ยิ่งเป็นเหตุทำ�ให้เกิดการแปรปรวนของภูมิอากาศโลก เพิ่มสูงขึ้น เช่น ร้อนเพิ่มขึ้น หนาวมากขึ้น พายุเกิดบ่อยมากขึ้นและรุนแรงขึ้น เกิดสภาพแล้งแบบสุดโต่ง เกิดน้ำ�ท่วมหนักแบบสุดติ่ง ต่ายคิดว่าประชากรรุ่นใหม่ๆ จะใช้ชีวิตลำ�บากมากขึ้นอย่างแน่นอนหากการเปลี่ยนแปลงยังคงเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งเช่นนี้ บนความแปรปรวนของสภาพอากาศโลกในปีนี้ ประเทศไทยโชคดีมากที่รอดพ้นจากภาวะแล้งและการแห้งของแม่น้ำ�เจ้าพระยามาได้ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมและพายุที่พัดผ่านมาแบบเฉียดๆ ไม่โดนตรงๆ ทำ�ให้ประเทศไทยได้รับน้ำ�ฝนเติมเข้าสู่เขื่อนและลุ่มน้ำ�ต่างๆ ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ก็ต้องมารอลุ้นกันต่อในปีหน้านะจ๊ะว่าเมืองไทยจะรอดไหม แล้วเราสามารถช่วยทำ�อะไรได้บ้างเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ต่ายบอกเลย คุณๆ ช่วยได้แน่นอน ต่ายขอยืนยัน! ขอเพียง แค่ใช้พลังงานต่างๆ อย่างประหยัด รอบคอบ คุ้มค่า และพยายามลดการใช้พลังงานต่างๆ ลง หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ พยายามกลับไปใช้ชีวิต ิ ต QUIZ ภาพ3 ภาพถ่ายดาวเทียมวันที่ 11 ตุลาคมพ.ศ. 2566 แสดงให้เห็นความแห้งแล้งของ แม่น้ำ�อเมซอนที่ปริมาณน้ำ�ลดลงในรอบ 121 ปี (ที่มา: ภาพจาก Oct 11, 21:10 | 1.9°S 54.1°W | Zoom Earth) ภาพ 4 ภาพถ่ายดาวเทียมเปรียบเทียบ วันที่ 13 กันยายน และ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566 แสดงให้เห็นความแห้งแล้งของแม่น้ำ�อเมซอนที่ปริมาณน้ำ�ลดลง อย่างรวดเร็วจนมองเห็นพื้นดินก้นแม่น้ำ� (ที่มา: ภาพจาก A Severe Drought Pushes the Amazon Rainforest to the Brink - The New York Times (nytimes.com )) Global warming จะไม่มีทางดีขึ้น ถ้าเรายังไม่เริ่ม สร้างการเปลี่ยนแปลงกับตัวเรา ต่าย แสนซน ในครั้งนี้มีผลทำ�ให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น และผู้อ่านได้เรียนรู้มาจากวิชาวิทยาศาสตร์ใน โรงเรียนและสื่อต่างๆ แล้วว่า แก๊สทั้งสองชนิดนี้เป็นแก๊สที่ทำ�ให้เกิดภาวะโลกร้อน เอ๊ะ! แล้วแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน จะมา จากไหนล่ะ? แก๊สมีเทนปกติจะมาจากซากของมวลชีวภาพที่ทิ้งทับถมกันไว้ และมาจากพื้นที่ชุ่มน้ำ�หรือที่มีน้ำ�ขัง ในกรณีที่เกิดภัยแล้งระดับน้ำ� ลดต่ำ�ลงมากจนเกิดการเปลี่ยนสภาพจากแม่น้ำ�กลายเป็นแอ่งน้ำ�ตื้นๆ กระจายอยู่ทั่วไป จึงเป็นสาเหตุทำ�ให้เกิดแก๊สมีเทนเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็ ไม่เท่ากับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นจากไฟป่า (ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติและการเผาป่าของมนุษย์) โดยพบว่า การเผาป่า โดยปกติมักจะทำ�กันเพื่อปรับพื้นที่สำ�หรับเตรียมไว้ในการเลี้ยงวัว ทำ�ไร่ แต่ในภาวะแล้งต้นไม้ในป่าอเมซอนตาย ลดจำ�นวนลง ความสามารถ ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าอเมซอนจะลดลงไปด้วย ประกอบกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลของ คนในพื้นที่ จากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566 จะมองเห็นพื้นดิน (สีน้ำ�ตาลอมเทา) ที่เป็นเส้นทางของแม่น้ำ�อเมซอนบริเวณ ที่เชื่อมต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก จุดความร้อน (จุดสีส้มแดง) ที่เกิดขึ้นกระจายไปทั่วตลอดแนวชายฝั่งแม่น้ำ� และชุมชนที่อยู่ใกล้กับ แหล่งน้ำ�
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5