นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244
ปีที่ 51 ฉบับที่ 244 กันยายน - ตุลาคม 2566 7 ในด้านต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษา ศิลปะ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจ ในแบบองค์รวมมากขึ้น (อรนุช ลิมตศิริ, 2560; Parker, 2022) รวมถึงช่วย ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากแหล่ง เรียนรู้ต่างๆ นอกห้องเรียน (สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2550) การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนนอกจากจะทำ�ให้ผู้เรียน มีความรู้และความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้นแล้ว ยังทำ�ให้ผู้เรียน เกิดการพัฒนาทักษะที่สำ�คัญ เช่น การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การสื่อสาร การทำ�งานร่วมกัน เกิดทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การวัด การจำ�แนกประเภท การตั้งคำ�ถาม การสร้างเจตคติและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ก่อให้เกิดการปลูกฝังจิตสำ�นึกให้ผู้เรียนดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเกิดขึ้นบ่อยมากในชีวิต ประจำ�วัน ถ้าผู้สอนจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนโดยอ้างอิงหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) ก็สามารถทำ�ได้ ตัวอย่างสถานการณ์/กิจกรรมที่สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการดำ�รงชีวิตของพืชแสดงดังตารางต่อไปนี้ ตาราง ความสอดคล้องของตัวอย่างสถานการณ์/กิจกรรมกับตัวชี้วัดในสาระวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่เกี่ยวกับการดำ�รงชีวิตของพืช ตัวอย่างสถานการณ์/ กิจกรรม การสำ�รวจพืชในธรรมชาติ การสังเกตการเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสง การปลูกต้นไม้ในโรงเรียนและ ชุมชน ช่วงชั้น ช่วงชั้นที่ 1 (ประถมศึกษาปีที่ 1-3) ช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4-6) ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ช่วงชั้นที่ 1 (ประถมศึกษาปีที่ 1-3) ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ตัวชี้วัด ว 1.1 ป.1/1 ว 1.2 ป.1/1 ว 1.1 ป.5/1 ว 1.2 ป.4/1 ว 1.2 ม.1/11 ว 1.2 ม.1/12 ว 1.2 ม.1/13 ว 1.2 ป.2/1 ว 1.2 ป.2/2 ว 1.2 ป.2/3 ว 1.2 ม.1/6 ว 1.2 ม.1/7 ว 1.2 ม.1/8 ระบุชื่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณต่างๆ จากข้อมูล ที่รวบรวมได้ ระบุชื่อ บรรยายลักษณะและบอกหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช รวมทั้งบรรยายการทำ� หน้าที่ร่วมกันของส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ในการทำ� กิจกรรมต่าง ๆ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ บรรยายโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสม กับการดำ�รงชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต ในแต่ละแหล่งที่อยู่ บรรยายหน้าท่ี่่ของราก ลำ�ต้น ใบ และดอกของพืชดอก โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ อธิบายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ ของพืชดอก อธิบายลักษณะโครงสร้างของดอกที่มีส่วนทำ�ให้เกิด การถ่ายเรณู รวมทั้งบรรยายการปฏิสนธิของพืชดอก การเกิดผลและเมล็ด การกระจายเมล็ด และการงอก ของเมล็ด ตระหนักถึงความสำ�คัญของสัตว์ที่ช่วยในการถ่ายเรณู ของพืชดอก โดยการไม่ทำ�ลายชีวิตของสัตว์ที่ช่วยในการ ถ่ายเรณู ระบุว่าพืชต้องการแสงและน้ำ�เพื่อการเจริญเติบโต โดยใช้ ข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ตระหนักถึงความจำ�เป็นที่พืชต้องได้รับน้ำ�และแสงเพื่อ การเจริญเติบโต โดยดูแลพืชให้ได้รับสิ่งดังกล่าวอย่าง เหมาะสม สร้างแบบจำ�ลองที่บรรยายวัฏจักรของพืชดอก ระบุปัจจัยที่จำ�เป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิต ที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ อธิบายความสำ�คัญของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ตระหนักในคุณค่าของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน และชุมชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5