นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244

8 นิตยสาร สสวท. สวนผักสุขภาพดี จุดประสงค์: 1. นักเรียนสามารถระบุปัญหา ความต้องการ และเงื่อนไขเพื่อออกแบบสวนผักสุขภาพดี 2. นักเรียนรวบรวมข้อมูล ออกแบบ สร้าง และดูแลสวนผักสุขภาพดี เวลาที่ใช้: 1 - 3 เดือน วัสดุอุปกรณ์: ตามที่ได้ออกแบบไว้ สถานการณ์: ปัจจุบัน การปลูกผักสวนครัวเพื่อรับประทานภายในบ้านเป็นทางเลือกหนึ่งของคนที่ใส่ใจในสุขภาพ เนื่องจากผักสวนครัวที่ซื้อมา อาจมีสารพิษตกค้างจากการเพาะปลูก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผักสวนครัวสามารถปลูกในพื้นที่ที่อยู่อาศัยได้โดยไม่จำ�เป็นต้องใช้ พื้นที่มาก การบำ�รุงและดูแลรักษาทำ�ได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี และหากคำ�นึงถึงการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์เพื่อปลูกผักให้ได้หลากหลายชนิด จะทำ�ให้เรามีผักที่ปลอดภัยและมีความหลากหลายไว้บริโภค ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการออกไปซื้อ ครอบครัวของนักเรียนจึงมีแนวคิดที่จะสร้างสวนผักสุขภาพดีเพื่อปลูกผักปลอดสารพิษไว้ภายในบ้านซึ่งมีพื้นที่ปลูกจำ�กัด เพียง 1 x 1 เมตร และมอบหมายให้นักเรียนออกแบบและสร้างสวนผักสุขภาพดี โดยจำ�นวนชนิดของผักต้องมีความหลากหลายและตรงกับ ความต้องการในการบริโภคภายในครอบครัวของตนเอง และนักเรียนต้องศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ ขั้นตอนการปลูก และการดูแลรักษา ผักสวนครัวในสวนผักสุขภาพดีของครอบครัวของนักเรียนให้เจริญเติบโต เช่น การรดน้ำ� การใส่ปุ๋ย การป้องกันและกำ�จัดศัตรูพืช วิธีการดำ�เนินกิจกรรม 1. อ่านสถานการณ์ที่กำ�หนดให้ และศึกษาเกณฑ์การประเมิน 2. ระบุปัญหา ความต้องการ และเงื่อนไขเพื่อออกแบบสวนผักสุขภาพดี 3. สำ�รวจชนิดของผักสวนครัวที่ใช้ประกอบอาหารภายในครอบครัวของตนเอง 4. เลือกชนิดของผักสวนครัวที่ต้องการปลูก บันทึกผล 5. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวที่เลือก เช่น การขยายพันธุ์ ขั้นตอนการปลูก และการดูแล 6. กำ�หนดเป้าหมายของการสร้างสวนผักสุขภาพดี เช่น เก็บผลผลิตได้ในระยะเวลาที่กำ�หนด 7. ออกแบบสวนผักสุขภาพดี โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกวิธีการขยายพันธุ์ ขั้นตอนการปลูก และวิธีการดูแล 8. สร้างและดูแลสวนผักสุขภาพดีตามที่ออกแบบไว้ 9. บันทึกความก้าวหน้าของสวนผักสุขภาพดี 10. ประเมินความสำ�เร็จของสวนผักสุขภาพดี พร้อมทั้งระบุผลที่ได้จากการสร้าง ปัญหาที่พบและแนวทางการปรับปรุง สวนผักสุขภาพดี 11. นำ�เสนอสวนผักสุขภาพดี รวมถึงอธิบายวิธีการขยายพันธุ์ ขั้นตอนการปลูก วิธีการดูแล ตัวอย่างสถานการณ์/ กิจกรรม การปลูกผักสวนครัว ช่วงชั้น ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/14 ว 1.2 ม.1/15 ว 1.2 ม.1/16 ว 1.2 ม.1/17 อธิบายความสำ�คัญของธาตุอาหารบางชนิดที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตและการดำ�รงชีวิตของพืช เ ลือก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหา ร เ หมา ะสมกับพืช ใน สถานการณ์ที่กำ�หนด เลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับความต้องการ ของมนุษย์ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืช ตระหนักถึงประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืชโดยการนำ� ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน ผู้เขียนขอยกตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเรื่อง สวนผักสุขภาพดี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีรายละเอียด ของกิจกรรมซึ่งประกอบด้วยจุดประสงค์ สถานการณ์ วิธีการดำ�เนินกิจกรรม ตัวอย่างผลการดำ�เนินกิจกรรม ตัวอย่างเกณฑ์การประเมิน และข้อเสนอแนะ สำ�หรับการปรับเปลี่ยนวิธีการดำ�เนินกิจกรรมให้เหมาะสมตามบริบทของ ห้องเรียน ตาราง (ต่อ) ความสอดคล้องของตัวอย่างสถานการณ์/กิจกรรมกับตัวชี้วัดในสาระวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่เกี่ยวกับการดำ�รงชีวิตของพืช

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5