นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245

16 นิตยสาร สสวท. 1.1 ตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้า การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะแกนโลกเอียงส่งผลให้ตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้า เปลี่ยนแปลงไปดังภาพ 1 และ 2 เมื่อโลกโคจรมายังตำ �แหน่งที่ 1 ประมาณวันที่ 21 มีนาคม ตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์ จะอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี เรียกจุดดังกล่าวว่าจุดวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) เมื่อเวลาผ่านไปโลกโคจรมายังตำ �แหน่งที่ 2 ประมาณวันที่ 21 มิถุนายน ตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์จะอยู่ในตำ �แหน่งที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าขึ้นไปทางขั้วฟ้าเหนือมากที่สุด เรียกจุดดังกล่าวว่า จุดครีษมายัน (Summer Solstice) และเมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำ �แหน่งมาอยู่ในตำ �แหน่งที่ 3 ประมาณวันที่ 22 กันยายน ตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่มาอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้าอีกครั้ง เรียกจุดดังกล่าวว่า จุดศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) จนกระทั่งเมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำ �แหน่งมาอยู่ในตำ �แหน่งที่ 4 ประมาณวันที่ 21 ธันวาคม เป็นตำ �แหน่งที่ ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางขั้วฟ้าใต้มากที่สุด เรียกว่าจุดเหมายัน (Winter Solstice) เมื่อเราลากเส้นเชื่อมต่อ จุดสำ �คัญทั้ง 4 จุดนี้จะเกิดเส้นวงกลมใหญ่ที่เรียกว่า เส้นสุริยวิถี โดยตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงไปตามเส้นสุริยวิถี ซึ่งส่งผลต่อเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ 1.2 เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ หากเราลองถ่ายภาพตำ �แหน่งการขึ้นหรือตกของดวงอาทิตย์ที่ตำ �แหน่งเดิมในทุกๆ เดือนเราจะเห็นว่าตำ �แหน่งการขึ้น และตกของดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ในตำ �แหน่งเดิมทุกวัน จากภาพ 3 แสดงตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์ขณะที่อยู่ขอบฟ้าด้านตะวันตก ในเดือนต่างๆ จะเห็นว่าตำ �แหน่งการตกของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์บน ทรงกลมฟ้า โดยเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดวสันตวิษุวัต (ประมาณวันที่ 21 มีนาคม) คนบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวัน ภาพ 1 แสดงตำ �แหน่งในวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ภาพ 3 ตำ �แหน่งดวงอาทิตย์ที่ขอบฟ้าด้านตะวันตกในเดือนต่างๆ ภาพ 2 แสดงตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้า

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5