นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 17 ภาพ 4 เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ที่ตำ �แหน่งละติจูดแตกต่างกัน ภาพ 5 แสดงเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์บริเวณ ประเทศไทย (ละติจูดประมาณ 15 องศาเหนือ) ออกและตกทางทิศตะวันตกพอดีและเป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน เมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำ �แหน่งมาอยู่ที่ จุดครีษมายัน (ประมาณวันที่ 21 มิถุนายน) คนบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางเหนือ และตกทางตะวันตก เฉียงไปทางเหนือ ในวันดังกล่าวจะเป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อนสำ �หรับผู้สังเกตที่อยู่บริเวณซีกโลกเหนือซึ่งจะเป็นวันที่มีกลางวัน ยาวนานที่สุดในรอบปี เมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำ �แหน่งมาอยู่ที่จุดศารทวิษุวัต (ประมาณวันที่ 22 กันยายน) คนบนโลกจะเห็น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดีและมีช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืนเช่นเดียวกับ จุดวสันตวิษุวัตเป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง และเมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำ �แหน่งมาอยู่ที่จุดเหมายัน (ประมาณวันที่ 21 ธันวาคม) คนบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางใต้และตกทางตะวันตกเฉียงไปทางใต้ ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูหนาว สำ �หรับผู้สังเกตที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ วันดังกล่าวจะมีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดในรอบปี นอกจากตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์จะส่งผลต่อเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์แล้ว ตำ �แหน่งละติจูดของผู้สังเกต ก็มีผลต่อการเห็นเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกัน โดยผู้สังเกตที่อยู่บริเวณศูนย์สูตรจะเห็นเส้นทางการขึ้นการตก ของดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับขอบฟ้าดังภาพ 4ก ผู้สังเกตที่อยู่ทางซีกโลกเหนือจะเห็นเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์เฉียงไป ทางใต้ดังภาพ 4ข และผู้สังเกตที่อยู่ทางซีกโลกใต้จะเห็นเส้นทางการขึ้นการตกดวงอาทิตย์เฉียงไปทางเหนือ ดังภาพ 4ค นอกจากนี้ การที่เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันมีความยาวแตกต่างกันส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน กลางคืน และ ปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับในแต่ละวัน สำ �หรับบริเวณประเทศไทยที่ตำ �แหน่งของกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งมีละติจูดประมาณ 15 ๐ N ผู้สังเกตจะเห็นเส้นทางการขึ้น การตกของดวงอาทิตย์เอียงไปทางทิศใต้ โดยในวันวสันตวิษุวัต (ประมาณวันที่ วันที่ 21 มีนาคม) เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ จะเอียงไปทางทิศใต้ห่างจากจุดเหนือศีรษะประมาณ 15 องศา (ตามตำ �แหน่งละติจูดของผู้สังเกต) จากนั้นเส้นทางการขึ้นการตก ของดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ขยับขึ้นมาทางทิศเหนือจนกระทั่งประมาณวันที่ 21 มิถุนายนซึ่งตรงกับวันครีษมายัน ดวงอาทิตย์จะปรากฏ อยู่ทางเหนือมากที่สุดและเป็นวันที่มีกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี จากนั้นเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ขยับไป ทางใต้จนกระทั่งประมาณวันที่ 22 กันยายนซึ่งตรงกับวันศารทวิษุวัติ ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี และเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์จะขยับไปทางทิศใต้ มากที่สุดประมาณวันที่ 21 ธันวาคม ซึ่งวันดังกล่าวจะเป็นวันที่มี กลางวันสั้นที่สุดในรอบปีดังภาพ 1.3 ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์ส่งผลให้เกิด ปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลก ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์ เช่น ปรากฏการณ์ตะวันอ้อมข้าว เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ ปรากฏบนจุดเหมายันบนทรงกลมฟ้า จะอยู่ในช่วงประมาณวันที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5