นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
18 นิตยสาร สสวท. 21 - 22 ธันวาคม ผู้สังเกตที่ประเทศไทยจะเห็นเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์เฉียงไปทางทิศใต้มากที่สุด โดยไม่ได้ผ่าน จุดเหนือศีรษะของผู้สังเกต และช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ต้นข้าวออกรวง จึงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ตะวันอ้อมข้าว นอกจากนี้ ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะมีเส้นทางการขึ้นการตกสั้นที่สุด ส่งผลให้วันดังกล่าวมีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดในรอบปี ปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืน เกิดในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มาอยู่ที่ตำ �แหน่งครีษมายันบนทรงกลมฟ้าซึ่งเป็น ช่วงฤดูร้อน (สำ �หรับผู้สังเกตบริเวณซีกโลกเหนือ) ส่งผลให้ช่วงเวลาดังกล่าวผู้สังเกตจะไม่เห็นดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า หรือมี กลางวันตลอด 24 ชั่วโมง แต่ปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนไม่ได้เกิดในทุกตำ �แหน่งบนโลก จะเกิดเฉพาะบริเวณประเทศที่อยู่ ตำ �แหน่งละติจูด 66.5 องศาเหนือขึ้นไป เช่น ประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ ปรากฏการณ์ Zero Shadow Day เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ปรากฏตรงตำ �แหน่งจุดเหนือศีรษะของผู้สังเกตพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดเงาที่สั้นที่สุด จะเกิดในวันที่ตำ �แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้ามีค่าเดคลิเนชันตรงกับ ตำ �แหน่งละติจูดของผู้สังเกตบนโลก โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ซึ่งช่วงวันและเวลาในการเกิดจะแตกต่างกัน ตามตำ �แหน่งละติจูดของผู้สังเกต 1.4 การใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์ กา รที่ เ ส้นทา งกา ร ขึ้นกา รตกขอ งดว ง อาทิตย์ เปลี่ยนแปลงไปทุกวันส่งผลต่อการดำ �รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนั้น การศึกษาการเปลี่ยนตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์สามารถ นำ �มาใช้ในหลายด้าน เช่น การบอกเวลา ในแต่ละวันจะสังเกตเห็นตำ �แหน่งปรากฎ ของดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ในอดีตมนุษย์ศึกษา การเปลี่ยนตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์และนำ �มาช่วยในการบอก เวลาบนโลก โดยช่วงเวลาระหว่างการสังเกตเห็นดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่ผ่านเมริเดียนท้องถิ่นครั้งแรกถึงครั้งถัดไป เรียกว่า 1 วัน สุริยคติปรากฏ (Apparent Solar Day) โดยจะใช้นาฬิกาแดด ช่วยในการสังเกตตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์ แต่เนื่องจากเวลา 1 วัน สุริยคติปรากฏยาวไม่คงที่ จึงไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานในการ บอกเวลาได้ ดังนั้น จึงต้องหาวิธีการอื่นในการบอกเวลา ภาพ 6 แสดงเงาที่ปรากฏขณะเกิดปรากฏการณ์ Zero Shadow Day ภาพถ่ายโดย นายณัฐพงศ์ วงศ์ชัย ภาพ 7 แสดงการวางตำ �แหน่งเสาหินบริเวณสโตนเฮนจ์ ที่มา: http://www.ancient-wisdom.com/englandstonehenge.htm ภาพ 8 แสดงตำ �แหน่งดวงอาทิตย์กำ �ลังขึ้นทางทิศตะวันออก บริเวณเสาหินสโตนเฮนจ์ ที่มา: https://pixabay.com/photos/sunrise-stonehenge-mystical-en- gland-3901312/ การวางผังการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในอดีต การสังเกตการเปลี่ยนตำ �แหน่งของดวงอาทิตย์และดวงดาวถูกนำ �มาช่วย ในการวางตำ �แหน่งของสถาปัตยกรรมตั้งแต่ในอดีต เช่น การออกแบบสโตนเฮนจ์ ซึ่งประกอบด้วยเสาหินจำ �นวนมากปักเรียงราย เป็นวงกลม และมีหินเอนวางอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันครีษมายันหากมายืนที่กึ่งกลางของวงกลมนี้และมองไปยังหิน เอนจะเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นเหนือขอบฟ้าทางตะวันออกตรงกับตำ �แหน่งของหินเอนพอดี ส่วนในวันเหมายันดวงอาทิตย์จะ ตกลับขอบฟ้าทางตะวันตกในฝั่งตรงข้ามของหินเอนผ่านจุดศูนย์กลางของเสาหิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5