นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
22 นิตยสาร สสวท. จาก Exotic Pets กลายเป็น Alien Species จากความรักความเมตตาที่มีให้กับสัตว์เลี้ยงแปลกหรือ Exotic Pets เมื่อสัตว์เหล่านี้เติบโตขึ้นจะด้วยเหตุผลของความน่ารักลดลง ขนาดตัว ที่ใหญ่มากขึ้น เหตุผลทางเศรษฐกิจทั้งในเรื่องของค่าอาหาร ค่าวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดูแลสัตว์เลี้ยงเหล่านั้น ค่ายารักษาโรคที่สูงมากเมื่อนำ �สัตว์ เหล่านี้ไปคลีนิครักษาสัตว์และอื่นๆ จึงทำ �ให้มันถูกปล่อยทิ้งในธรรมชาติ กลายเป็นเอเลียนสปีชีส์ (Alien Species) สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species) สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำ �ลาย หรือสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ แย่งอาหารและที่อยู่อาศัยกับสิ่งมีชีวิต ในท้องถิ่น จับสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น ตัวอ่อน หรือไข่กินเป็นอาหารจนส่งผลทำ �ให้ จำ �นวนประชากรของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นลดจำ �นวนลง สำ �หรับความหมายจริงๆ ของเอเลียนสปีชีส์นั้นจะมีความหมาย รวมทั้งสัตว์ พืช ฟังไจ (Fungi) จุลินทรีย์ (Microorganism หรือสิ่งมีชีวิต ขนาดเล็ก) ที่หลุดเข้ามาอาศัยในถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่ที่ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อาศัย ดั้งเดิมที่เคยอยู่ตามธรรมชาติซึ่งเป็นปัจจัยสำ �คัญมากที่ผลักดันให้ ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และนำ �ไปสู่การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่อาศัยนั้นๆ ในเวลาต่อมา โดยพบว่าเอเลียนสปีชีส์เมื่อเข้าไป อยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ อาจจะกลายเป็นผู้ล่า (Predator) เข้าไปเป็นคู่แข่ง (Competitor) ในการหาอาหารหรือแย่งที่อยู่อาศัย เข้าไปเป็นปรสิต (Parasite) ที่ทำ �ให้สัตว์หรือพืชในท้องถิ่นเกิดโรคและตาย และสุดท้ายก็จะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และความมั่นคงในด้านอาหารของมนุษย์ในที่สุด (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก Invasive Alien Species|IUCN) สำ �หรับ บทความนี้จะพูดถึงเฉพาะเอเลียนสปีชีส์ที่อยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงแปลกเท่านั้น หลังจากเกิดปัญหาอิกัวนาที่เป็นเอเลียนสปีชีส์และมีการนำ �เสนอ ผ่านข่าวทำ �ให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ประกาศห้ามนำ �เข้า อิกัวนาทุกชนิดเข้ามาในประเทศไทยโดยเด็ดขาด แต่ Exotic Pets ชนิดอื่น ยังคงมีขายอยู่ในตลาดขายสัตว์เลี้ยงแปลก และในตลาดค้าสัตว์เลี้ยงก็จะ ยังคงมีผู้ค้าตามหาสัตว์แปลกต่างถิ่นมาเปิดตลาดสินค้า Exotic Pets ชนิดใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ปัญหาในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นซ้ำ �หรือไม่ รัฐบาล จะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร คงไม่มีใครสามารถให้คำ �ตอบที่แน่ชัดได้ ภาพ 1 ตัวอย่าง Exotic Pet ที่มีขายในประเทศไทย ภาพแถวบนจากซ้ายไปขวา 1) ดอร์เม้าส์หรือกระรอกจิ๋ว 2) ซูการ์ไกรเดอร์ 3) กิ้งก่าเวลล์คาเมเลียน ภาพแถวล่างจากซ้ายไปขวา 4) แพนเทอร์คาเมเลียน 5) ซินซิลล่า 6) เต่าบกยักษ์ซูลคาตา ที่มา: ภาพสต็อก รูปภาพ และภาพถ่ายปลอดค่าลิขสิทธิ์ - iStock (istockphoto.com) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหา Alien Species องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก หรือ UNESCO) ได้รายงานเกี่ยวกับปัญหาและ กระแสของความนิยมเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในปี ค.ศ. 2018 ซึ่งในรายงานนี้จะมีการพูดถึงจุดประสงค์ของการจัดการศึกษา เรื่องของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่จะนำ �ไปสู่การป้องกันรักษา ความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่ควบคู่ไปกับการป้องกันการสูญเสีย แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นที่เป็นผลมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ ต่างถิ่นที่รุกราน การป้องกันการทำ �ลายป่าไม้ การกระจายตัวของแหล่งที่อยู่ เป็นพื้นที่เล็กๆ ที่เป็นผลมาจากการที่ป่าไม้ถูกทำ �ลาย และการใช้ทรัพยากร ที่มากเกินพอดี การแก้ปัญหาเอเลียนสปีชีส์จำ �เป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก บุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย ตั้งแต่การกำ �หนดนโยบาย ที่ชัดเจนจากรัฐบาล การออกกฎ ระเบียบ และแนวทางในการปฏิบัติที่ ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ และประชาชนเข้าใจ และปฎิบัติ ไปในทางเดียวกันได้อย่างยั่งยืน ในหนังสือเรียนชีววิทยา เล่ม 6 ได้ให้ความหมายของชนิดพันธุ์ ต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ว่าคือสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ นอกเขตการกระจายพันธุ์ดั้งเดิมตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนั้น โดยอาจจะ เกิดตามธรรมชาติ หรือนำ �เข้ามาโดยมนุษย์ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ และได้ มีการจัดแบ่งเอเลียนสปีชีส์ที่ควรถูกควบคุมและกำ �จัด ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแล้วในประเทศไทย เช่น หอยทากยักษ์ แอฟริกา และต้นไมยราบยักษ์ 2. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีแนวโน้มรุกราน เช่น กบบุลฟร๊อก และ ต้นพวงชมพู 3. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีประวัติว่ารุกรานแล้วในประเทศอื่นแต่ยัง ไม่รุกรานในประเทศไทย เช่น มดหัวโต และต้นศรนารายณ์ 4. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่ยังไม่เข้ามาในประเทศไทย และมี รายงานว่าได้รุกรานแล้วในประเทศอื่น เช่น ตัวต่อในยุโรป และคางคกยักษ์ สำ �หรับการจัดการปัญหาสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในชุมชน ให้ประสบความสำ �เร็จแบบยั่งยืนมีความจำ �เป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลากหลายกลุ่ม ดังนั้น การที่หน่วยงาน ทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย และผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียจากผลกระทบของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา สำ �รวจ และวางแผนการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น จากสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในชุมชนร่วมกัน ก็จะทำ �ให้สามารถ วางแผน ออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล การควบคุมการแพร่กระจาย ส่งเสริม การเรียนรู้แล้วสร้างความเข้าใจถึงปัญหา รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียจากปัญหานี้ อภิปรายและวิเคราะห์สาเหตุและปัญหาเพื่อใช้ในการ ออกแบบกฎและนโยบายของประเทศเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ รุกรานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมการสำ �รวจ Alien Species ในชุมชน กิจกรรมการสำ �รวจในชุมชน หรือการจัด Field Trip เพื่อสำ �รวจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5