นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
24 นิตยสาร สสวท. ศุภณัฐ คุ้มโหมด | นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. | e-mail: skumm@ipst.ac.th แบบจำ �ลองอะตอม ยังเหมือนเดิมหรือไม่ ภาพจาก: https://www.space.com/standard-model-physics โครงสร้างอะตอมเป็นหนึ่งในเนื้อหาที่อยู่ในตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ สำ �หรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่ง เป็นความรู้พื้นฐานการเรียนรู้เรื่องฟิสิกส์อนุภาคหรือสมบัติของธาตุในระดับที่ สูงขึ้นแบบจำ �ลองอะตอมจากตำ �ราที่เขียนไว้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันระบุว่า อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐาน 3 ชนิด ได้แก่ โปรตอน (Proton) นิวตรอน (Neutron) และอิเล็กตรอน (Electron) โดยโปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกัน ตรงศูนย์กลางของอะตอมเรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) ซึ่งมีขนาดเล็กมากเมื่อ เทียบกับขนาดของอะตอม พื้นที่ที่เหลือของอะตอมเป็นที่ว่าง อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ อยู่ในที่ว่างโดยรอบนิวเคลียส ดังภาพ 1 (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, 2562) แนวคิดเรื่องโครงสร้างอะตอมและแบบจำ �ลองอะตอมนี้ นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่สนใจได้พัฒนาแนวคิดนี้ตั้งแต่ยุคกรีกเรื่อยมาผ่าน การสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัวโดยพยายามหาคำ �ตอบด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์และพัฒนาแนวคิดจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ภาพ 1 แบบจำ �ลองอะตอมที่มีอิเล็กตรอนอยู่รอบนิวเคลียส ที่มา: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2562ิ ต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5