นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245

28 นิตยสาร สสวท. ภาพ 10 การวิเคราะห์ภาพศิลปะด้วยรังสีเอ็กซ์ ที่มา: home.cern ภาพ 9 การทดลอง Muon g-2 ที่แฟร์มีแล็บ ที่มา: bbc.com ภาพ 11 ภาพจำ �ลองเครื่องกำ �เนิดแสงซินโครตรอนของประเทศไทย ที่มา: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน, 2562 นอกจากความรู้ด้านฟิสิกส์อนุภาคแล้ว เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ ที่ได้จากเครื่องเร่งอนุภาคสามารถนำ �มาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ ได้ เช่น ด้านการแพทย์ได้นำ �เครื่องเร่งอนุภาคไปใช้ในการถ่ายภาพและวินิจฉัยโรค ด้านสิ่งแวดล้อมได้นำ �เทคโนโลยีเซนเซอร์ไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดมลพิษ ด้านศิลปะได้ใช้รังสีเอ็กซ์ที่เรียกว่า Color X-ray ในการศึกษาองค์ประกอบ ของภาพวาดในอดีต ดังภาพ 10 ด้านการสื่อสารได้นำ �เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ที่เป็นเทคโนโลยีสื่อสารภายในของเซิร์นในการรับส่ง ข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำ �วัน ซึ่งแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างมาก (CERN Accelerating science, n.d.; ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ, 2566; นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ, 2566 สำ �หรับประเทศไทยก็มีเครื่องเร่งอนุภาคเช่นกัน โดยเครื่อง ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เป็น เครื่องเร่งอนุภาคชนิดซินโครตรอนที่มีขนาดเส้นรอบวง 81 เมตร มีระดับ พลังงาน 1.2 จิกะอิเล็กตรอนโวลต์ ดังภาพ 11 มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย และให้บริการแสงซินโครตรอนเพื่อประโยชน์หลายด้าน เช่น ด้าน วิทยาศาสตร์พื้นฐานใช้ในงานวิจัยเกี่ยวกับสมบัติของอะตอมหรือโมเลกุล ของสสาร ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้ ในการศึกษาโครงสร้างของสารชีวโมเลกุลหรือโปรตีนเพื่อประยุกต์ใช้ ในการออกแบบยารักษาโรค ด้านอุตสาหกรรมใช้ในการศึกษาวัสดุเพื่อ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม (สถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน, 2565) ในปัจจุบันความต้องการใช้แสงซินโครตรอนใน ประเทศไทยมีมากขึ้น จึงมีการสร้างเครื่องกำ �เนิดแสงซินโครตรอนรุ่นที่ 2 ซึ่งมีขนาดเส้นรอบวงถึง 321 เมตร มีระดับพลังงาน 3 จิกะอิเล็กตรอนโวลต์ ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5