นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 31 ภาพ 3 วันเบาหวานโลก 2566 ที่มา : https://www.dmthai.org/new/index.php/activi- ties-and-news/news-pr/2023-10-17-1 ภาพ 4 วันเบาหวานโลก 2566 ที่มา : https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/. ภาพ 2 วันเบาหวานโลก 2566 ที่มา: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ใ นเด็กและวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมาก ผู้พัฒนาหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระชีววิทยา จึงได้ใส่เรื่องของ “ฮอร์โมนกับการรักษาดุลยภาพ” ไว้ ประกอบกับในปัจจุบัน มีแนวโน้มของการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ดังภาพ 2 ใน เด็กและวัยรุ่นมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับโรคอ้วนที่มากขึ้นจากพฤติกรรม ของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำ �ตาลและ ไขมันสูง เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ที่สำ �คัญจะพบภาวะแทรกซ้อนใน อนาคตมากขึ้นกว่าผู้ใหญ่ (จากข้อมูลใน Website ของมหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในสาระน่ารู้ด้านการแพทย์ สาธารณสุข หัวข้อ โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น) ด้วยเหตุดังกล่าวจึง ปรากฏเรื่องของฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) และโรคเบาหวาน ในแบบเรียน เนื่องจากวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันเบาหวานโลก” (World Diabetes Day) จึงขอเชื่อมโยงบทเรียนในหนังสือเรียนสู่ชีวิตจริง เริ่มต้นมาจาก ปี ค.ศ. 1922 Sir Frederick Banting ได้ค้นพบ อินซูลินร่วมกับ Charles Best จากนั้นสหประชาชาติมีมติกำ �หนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันเกิดของ Sir Frederick Banting เป็น “วันเบาหวานโลก” อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2006 ดังนั้น ทุกประเทศทั่วโลกจะจัดกิจกรรม วันเบาหวานโลกขึ้น รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งมีหลายหน่วยงานจัดงานขึ้น ภายใต้หัวข้อ “เบาหวาน..รู้ว่าเสี่ยง รู้แล้วต้องเปลี่ยน...” ตัวอย่างเช่น 1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ สยามสมาคม แยกอโศก-สุขุมวิท 21 กทม. โดยได้มีการเผยแพร่ ข้อความเชิญชวนร่วมงาน ดังภาพ 3 2. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านเบาหวาน ฮอร์โมน และ เมตะบอลิสม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร โดยได้มีการ เผยแพร่ข้อความเชิญชวนร่วมงาน ดังภาพ 4 เบาหวานเป็นภัยเงียบที่หลายคนไม่รู้ตัวเพราะไม่แสดงอาการ ออกมามาก กว่าจะรู้ตัวก็อาจตาบอด หรือตัดขา เบาหวานไม่ทำ �ให้ตายโดยตรง แต่ส่งผลจากภาวะแทรกซ้อน การเกิดภาวะน้ำ �ตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพและทำ �งานล้มเหลวเป็นเหตุให้เกิดภาวะ แทรกซ้อน เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจขาดเลือด ตาสูญเสียการมองเห็น ชาปลายมือปลายเท้า ไตวายเรื้อรัง รวมถึงเป็นแผลหายยาก บางรายอาจ จำ �เป็นต้องตัดขา จากการที่เบาหวานไม่แสดงอาการมากถ้าไม่ระวังให้ดีไม่ว่า จะเป็นหลายอาการหรือเพียงอาการเดียว เช่น น้ำ �หนักลดโดยไม่ทราบ สาเหตุปัสสาวะกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีแรง กระหายน้ำ � หิวน้ำ �บ่อย กินจุ หิวบ่อย สายตาพร่ามัวมองไม่ชัดเจน ชา ปลายมือปลายเท้า เป็นแผลง่าย แผลหายยาก คันตามผิวหนัง จึงมีการพยายาม รณรงค์ให้มีการคัดกรองผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวาน โดยอาจใช้การประเมิน ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานให้รู้และระวังตัวก่อน หรือเฝ้าระวังภาวะก่อน เบาหวาน (Pre-Diabetes) วันเบาหวานโลกในแต่ละปีจะมีการนำ �เสนอความก้าวหน้าของ เบาหวานทั้งการตรวจและการรักษา แนวโน้มในปีนี้แพทย์ที่ทำ �การวิจัย และให้การรักษาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ต่างไปจากเดิมในหลายด้าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5