นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245

40 นิตยสาร สสวท. ระหว่างความรู้ในเนื้อหาที่สอน ความรู้ในวิธีการสอน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือ สนับสนุนหรือส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและเป็นการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู อย่างไรก็ตามการใช้ ChatGPT ในการจัดการเรียนรู้ครูควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการ ใช้งาน ซึ่งแนวคิด Intelligent-TPACK จากภาพ 6 จะทำ �ให้ครูคำ �นึงถึงคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยมี 4 องค์ประกอบดังนี้ 1) Intelligent-TK ครูสามารถใช้ความรู้ เพื่อโต้ตอบกับเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเพื่อใช้ฟังก์ชันพื้นฐานของเครื่องมือที่ใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 2) Intelligent-TPK ครูสามารถใช้ความรู้สำ �หรับการจัดหาเครื่องมือและ การตีความข้อความจากเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 3) Intelligent-TCK มุ่งเน้นความเข้าใจ ของครูเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะซึ่งเหมาะสำ �หรับการเรียนรู้เนื้อหาสาระในสาขาของตน 4) Intelligent- TPACK ครูสามารถเลือกและใช้เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสมสำ �หรับ ภาพ 5 TPACK framework. ภาพ 6 Intelligent-TPACK Framework and its components. ภาพ 7 DQ framework. Daia, Y. & Liub, Yun. & Lim C. P. (2023). Reconceptualizing ChatGPT and generative AI as a student-driven innovation in higher education . 33 rd CIRP Design Conference. DOI: 10.13140/RG.2.2.33039.05283 Celik, I. (2023). Towards Intelligent-TPACK: an empirical study on teachers’ professional knowledge to ethically integrate artificial intelligence (AI)-based tools into education. Computers in Human Behavior, 138 : 107468. UNESCO. (2023). C hatGPT and Artificial Intelligence in Higher Educatio n. Retrieved April 25, 2023, from: https://shorturl.asia/x8DEz. บรรณานุกรม การจัดการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำ �หนดไว้โดยครูต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ และครอบคลุมในการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการจัดการเรียนรู้ (Celik, 2023) ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้และเชื่อมโยง องค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ควบคู่กับการส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีความฉลาดทางดิจิทัล (DigitalQuotient: DQ) เพื่อให้ดำ �รงชีวิตอยู่บนโลกยุคดิจิทัลได้ อย่างรู้เท่าทัน ChatGPT กับความฉลาดทางดิจิทัลของผู้เรียน ChatGPT ช่วยพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient หรือ DQ) ของผู้เรียนดังนี้ 1) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุม: ChatGPT สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุม ตามคำ �ถามหรือข้อความที่ถูกป้อนเข้ามา โดยมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือข้อมูลภายในคลังข้อมูลที่มีอยู่ 2) ตอบคำ �ถามและให้คำ �แนะนำ �: ChatGPT สามารถตอบคำ �ถามที่ผู้ใช้สอบถามได้อย่าง รอบคอบและครอบคลุม โดยให้ข้อมูลและคำ �อธิบายที่เกี่ยวข้องกับคำ �ถาม 3) สนับสนุนในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ: ChatGPT สามารถช่วยในกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะต่างๆ ของผู้ใช้ เช่น การให้คำ �แนะนำ � 4) สนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต: ChatGPT สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการ ศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ที่ผู้ใช้สนใจ 5) สนับสนุนในการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์: ChatGPT สามารถช่วยในกระบวนการ คิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ โดยการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล และแนวคิดที่อาจเป็นประโยชน์ 6) พัฒนาทักษะระบบ: ChatGPT สามารถช่วยในการพัฒนาทักษะระบบ เช่น การวางแผน การดำ �เนินงาน การจัดการเวลา และการวางกลยุทธ์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับตัวและทำ �งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สุดท้ายนี้หวังว่าผู้อ่านจะได้แนวคิดที่จะนำ � ChatGPT ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของตนเองได้อย่างเหมาะสมต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5