นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 245
ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 47 สุวินัย มงคลธารณ์ | ผู้ชำ �นาญ โครงการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลก สสวท. | e-mail: smong@ipst.ac.th ต้นไม้ แหล่งดูดซับและ กักเก็บคาร์บอน ช่วยลดโลกร้อน ต้นไม้ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค แหล่งที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ป้องกันการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน สามารถป้องกันแสงแดด จากความร้อนดวงอาทิตย์ ไอน้ำ �ที่ระเหยจากการคายน้ำ �บริเวณปากใบยังช่วยลดความร้อนในบรรยากาศ ทำ �ให้อุณหภูมิ บริเวณนั้นลดลงได้ถึง 3 - 5 องศาเซลเซียส หากปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณบ้านจะช่วยลดอุณหภูมิรอบบ้านได้ถึง 2 - 4 องศาเซลเซียส (มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, 2553) ดังนั้น ต้นไม้จึงมีบทบาทสำ �คัญยิ่งต่ออุณหภูมิบรรยากาศ และ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เนื่องจากต้นไม้สามารถดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สเรือนกระจกที่สำ �คัญ ชนิดหนึ่งจากบรรยากาศมาสะสมกักเก็บไว้ในส่วนต่างๆ ของต้นไม้ โดยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกต้นไม้ดูดซับ นำ �ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและถูกนำ �ไปกักเก็บในรูปของเนื้อไม้ (ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากร ป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2559) ทั้งส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน ได้แก่ ลำ �ต้น กิ่ง และ ใบ ร้อยละ 62 11 และ 1 ตามลำ �ดับ และส่วนที่อยู่ใต้พื้นดิน ได้แก่ ราก ร้อยละ 26 (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), 2559) ดังภาพ 1 ภาพ 1 การกักเก็บคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ภาพจาก: https://www.nature.org/en-us/about-us/where-we-work/united-states/common-tree-species/ ี ที่ ั บี่ ิ ก ั น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5